การศึกษาผลการเคลื่อนย้ายของไอออนอิสระที่มีต่อการตรวจวัดคุณสมบัติทางไฟฟ้าเชิงแสงของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดเพอรอฟสไกต์โดยใช้แบบจาลองลอยเลื่อนและการแพร่เชิงตัวเลขที่มีสถานะดักจับประจุอิสระนาพาโดยไอออนที่ขึ้นกับเวลา
หัวหน้าโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกทีมคนอื่น ๆ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดโครงการ
วันที่เริ่มโครงการ: 07/03/2022
วันที่สิ้นสุดโครงการ: 06/03/2024
คำอธิบายโดยย่อ
เป็นที่ทราบโดยแน่ชัดในปัจจุบันแล้วว่าการเคลื่อนย้ายของไอออนอิสระก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบแก่เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดเพอรอฟสไกต์ เช่น ฮีสเทอรีซีสที่ปรากฏในกระแสไฟฟ้า การลดลงของประสิทธิภาพและการเสื่อมสภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ แต่ความเข้าใจในผลกระทบของไอออนอิสระที่มีต่อการตรวจวัดคุณสมบัติด้วยเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าเชิงแสง เช่น การวัดกระแสแบบ space-chare-limited current (SCLC) หรือการวัดการลดลงของความต่างศักย์วงจรเปิด (OCVD) ยังคงไม่เป็นที่แน่ชัด ประเด็นสำคัญที่ยังต้องการความเข้าใจคืออันตรกิริยาระหว่างไอออนกับประจุอิสระที่ก่อให้เกิดการสูญเสียประจุและประสิทธิภาพโดยการดักจับ ด้วยเหตุนี้ทางกลุ่มวิจัยจึงเสนอให้ใช้การจำลองแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้าศึกษาปรากฏการณ์ดังกล่าวเพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้พื้นฐานของผลของไอออนอิสระในเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดเพอรอฟสไกต์ ทางกลุ่มคาดการณ์ว่าผลดังกล่าวเป็นต้นเหตุของฮีสเทอรีซีสที่เกิดขึ้นในระหว่างการตรวจวัดคุณสมบัติด้วยเทคนิค SCLC และพฤติกรรมซับซ้อนของประจุที่เกิดขึ้นในระดับเวลามากกว่าวินาทีในการตรวจวัดด้วยเทคนิค OCVD ผลลัพธ์ที่คาดหวังของโครงการคือการได้มาซึ่งองค์ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดเพอรอฟสไกต์ที่มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพสูงภายในประเทศและการแจกจ่ายโปรแกรมจำลองแบบสำเร็จรูปให้นักวิจัยไทยได้ใช้สร้างความเข้าใจขั้นพื้นฐานจากผลการตรวจวัดคุณสมบัติจากห้องปฏิบัติการและสามารถพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดเพอรอฟสไกต์ได้สำเร็จในอนาคต
คำสำคัญ
- A solar cell, single-crystal perovskite, solvent engineering, large-area device fabrication
- Solar energy
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
ผลงานตีพิมพ์
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง