เทคนิคการแปรรูปชานอ้อยเป็นถ่านชีวมวลด้วยวิธีไฮโดรเทอร์มัลคลื่นไมโครแวฟและไพโรไลซิสเพื่อจัดทำโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Parinthorn Nunpraneet, Trairat Muangthong-on
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2022
หน้าแรก: 153
หน้าสุดท้าย: 159
จำนวนหน้า: 7
URL: https://www.eeat.or.th/eeat-conference-footer/21th-national-environmental-conference
บทคัดย่อ
วิธีไพโรไลซิสและวิธีไฮโดรเทอร์มัลคลื่นไมโครเวฟที่อุณหภูมิต่ำเป็นวิธีการแปรรูปชานอ้อยเป็นถ่านชีวภาพ และยิ่งไปกว่านั้นสามารถระบุเป็นโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนได้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการใช้ประโยชน์จากกากของเสียและเป็นแนวทางปฏิบัติการแปรรูปเปลี่ยนเป็นพลังงานภายใต้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล เมื่อดำเนินการทดลองวิธีไพโรไลซิสด้วยการใช้เครื่องปฏิกรณ์แบบเบดคงที่ที่อุณหภูมิ 150 และ 250 องศาเซลเซียส พบว่า สัดส่วนผลิตภัณฑ์ที่ได้เป็นร้อยละถ่านชีวภาพที่ 98.23 และ 81.58 ตามลำดับ และค่าความร้อนสูงได้เท่ากับ 16.19 และ 16.63 เมกะจูล/กิโลกรัม (แบบแห้งปราศจากขี้เถ้า) ตามลำดับ ส่วนเมื่อดำเนินการทดลองวิธีไฮโดรเทอร์มัลคลื่นไมโครเวฟด้วยการใช้เครื่องย่อยไมโครเวฟที่อุณหภูมิ 150 และ 240 องศาเซลเซียส พบว่า สัดส่วนผลิตภัณฑ์ที่ได้เป็นร้อยละถ่านชีวภาพที่ 91.29 และ 59.81 ตามลำดับ และค่าความร้อนสูงได้เท่ากับ 16.23 และ 16.88 เมกะจูล/กิโลกรัม (แบบแห้งปราศจากขี้เถ้า) ตามลำดับ ทั้งนี้ชานอ้อยตั้งต้นและถ่านชีวภาพที่ได้มีการดำเนินการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางคุณสมบัติเชื้อเพลิง ได้แก่ เครื่องมือวิเคราะห์ความเสถียร เครื่องมือวิเคราะห์ปริมาณธาตุ และเครื่องมือวิเคราะห์สัณฐานวิทยา เนื่องจากถ่านชีวภาพจากชานอ้อยที่ผลิตได้นี้มีความเหมะสมจากค่าความร้อนสูงและปริมาณคาร์บอนที่สูงและยังสามารถระบุว่าเป็นโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตามจากการผลิตด้วยวิธีไพโรไลซิสและวิธีไฮโดรเทอร์มัลคลื่นไมโครเวฟ
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง