การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการบรรจุภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลโดยใช้ระบบ GIS กรณีศึกษา: ชุมชนในเทศบาลนครระยอง

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งChayanon Tianthananurak, Orathai Chavalparit. Pratin Kullavanijaya and Nantamol Limphitakphong

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2022

หน้าแรก175

หน้าสุดท้าย181

จำนวนหน้า7

URLhttps://drive.google.com/drive/folders/1L2apKvV4wo-UolGPutzU48Cu1lfgwyQF

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

การจัดการขยะพลาสติกเพื่อการรีไซเคิลของชุมชนในเทศบาลนครระยองยังขาดความเชื่อมโยงกันตลอดห่วงโซ่การจัดการ งานวิจัยนี้เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติกระดับชุมชนโดยสร้างแบบจำลองการแลกเปลี่ยนข้อมูลการ

ซื้อขายขยะพลาสติกในพื้นที่จังหวัดระยอง โดยใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์(Geographic information system; GIS) เพื่อรวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ข้อมูลราคาและที่ตั้งของแหล่งรับซื้อขยะพลาสติกแยกตามประเภทอย่างเป็นระบบ ซึ่งช่วยให้ประชาชนซาเล้ง และธนาคารขยะสามารถค้นหาข้อมูลเพื่อการตัดสินใจซื้อขายได้อย่างรวดเร็ว ผลการวิจัยพบว่าการใช้ระบบ GIS ช่วยให้การหาพิกัดร้านรับซื้อขยะพลาสติกประเภทต่าง ๆ ในเขตเทศบาลนครระยองและเส้นทางการขนส่งที่เหมาะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดระยะทางในการขนส่งขยะจากแหล่งกำเนิดไปแหล่งซื้อขาย อันเป็นการลดต้นทุนค่าขนส่งและลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้เชื้อเพลิงเพื่อการขนส่ง 7.79 และ 37.75 kg CO2 ต่อรอบสำหรับกรณีขวด PET และถุงพลาสติกตามลำดับ


คำสำคัญ

ขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติก, ระบบ GIS , การขนส่ง, การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์


อัพเดทล่าสุด 2023-23-06 ถึง 10:51