การวิเคราะห์และทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟสในงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้โปรแกรม LabVIEW
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Kitmate Saisin, Pakpoom Chansri
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2021
หน้าแรก: 358
หน้าสุดท้าย: 368
จำนวนหน้า: 11
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการศึกษาผลการวิเคราะห์และทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟสสำหรับในงาน อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรมโดยใช้โปรแกรม LabView โดยจะใช้เครื่องมือวัดหม้อแปลงไฟฟ้าที่จัดทำขึ้นมาต่อ กับหม้อแปลงทดสอบที่เป็นชนิดที่ใช้ในงานอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป จากนั้นจึงนำเครื่องมือไปเชื่อมต่อเข้ากับ คอมพิวเตอร์ โดยประมวลผลผ่านโปรแกรม LabVIEW และแสดงผลผ่าน Graphic User Interface (GUI) ที่ ได้ออกแบบมาภายในโปรแกรม LabVIEW โดย GUI ที่ได้ออกแบบมานี้ จะแสดงผลในรูปแบบของกราฟโดย จะประกอบไปด้วย กราฟแรงดันในฝั่งปฐมภูมิ กราฟแรงดันในฝั่งทุติยภูมิ กราฟค่ากำลังไฟฟ้าฝั่งปฐมภูมิ กราฟค่ากำลังไฟฟ้าในฝั่งทุติยภูมิและกราฟค่าประสิทธิภาพของหม้อแปลงไฟฟ้า ซึ่งในการทดสอบเพื่อ วิเคราะห์หาคุณลักษณะในการแปลงไฟฟ้าของหม้อแปลงไฟฟ้าในงานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม จะทำการ ทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้าด้วยการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้าขณะวงจรเปิด และวงจรปิด เพื่อหาค่าพารามิเตอร์ ต่าง ๆ ดังนี้ ค่าแรงดันในฝั่งปฐมภูมิ แรงดันในฝั่งทุติยภูมิ ค่ากระแสในฝั่งปฐมภูมิ และค่ากระแสในฝั่งทุติยภูมิ ของหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดนี้ และจากการวิเคราะห์และทดสอบได้ผลดังนี้ เมื่อทำการวัดและทดสอบอัตราการ แปลงแรงดันของหม้อแปลงไฟฟ้าจำนวน 6 ครั้งพบว่า เมื่อเฉลี่ยแล้ว มีอัตราการแปลงแรงดันอยู่ที่ 22.27 มี ค่าความคลาดเคลื่อนจากการวัดอยู่ที่ 4.65 % และการวัดและทดสอบด้วยการเปิดวงจร และปิดวงจร มีค่า ความคลาดเคลื่อนจากการวัดอยู่ที่ 7.2 % และ 6.92 % ตามลำดับ จากการวิเคราะห์พบว่า เมื่อเราเพิ่มค่า ของแรงดันให้สูงขึ้น พบว่าค่าของกำลังไฟฟ้าจะมีค่าเพิ่มตามไปด้วย และเมื่อเพิ่มโหลดให้กับหม้อแปลงไฟฟ้า 40% ค่าประสิทธิภาพที่ได้จะมีค่าสูงสุดประมาณ 97.6 % และหากเพิ่มค่าโหลดมากไปกว่านี้จะทำให้ ประสิทธิภาพของหม้อแปลงลดลง
คำสำคัญ
LabVIEW