การคัดเลือกและจำแนกสายพันธุ์แบคทีเรียที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายขนไก่เหลือทิ้ง

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งPongsakorn Duangpitak, Sreyneang Nhim, Patthra Pason, Chakrit Tachaapaikoon, Khanok Ratanakhanokchai, Nantida Watanarojanaporn and Rattiya Waeonukul*

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2022

ชื่อชุดThe 1st National Conference of Natural Resources and Health Science

เลขในชุด1

หน้าแรก312

หน้าสุดท้าย322

จำนวนหน้า11


บทคัดย่อ

ประเทศไทยมีขนไก่เหลือทิ้งจากกระบวนการการแปรรูปไก่เนื้อเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามขนไก่สามารถใช้เป็นแหล่งโปรตีนทดแทนในอาหารสัตว์หรือใช้ในการผลิตสารเคราตินเพปไทด์ที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร เวชสำอาง และการแพทย์ได้ โดยใช้วิธีทางจุลินทรีย์และเอนไซม์ที่ผลิตจากจุลินทรีย์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกและจัดจำแนกชนิดของแบคทีเรียที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายขนไก่ จากการคัดเลือกแบคทีเรียที่สามารถย่อยขนไก่ จำนวน 108 สายพันธุ์ พบว่า มี 15 สายพันธุ์ ที่สามารถย่อยสลายขนไก่ได้ดี และมีเพียง 3 สายพันธุ์ มีประสิทธิภาพในการย่อยขนไก่ได้มากกว่า 80% ได้แก่ CP2.4 (82.33%), LY4.9 (82.45%), R22 (80.11%) และพบปริมาณโปรตีนที่ละลายน้ำ สูงถึง 258.78, 267.67 และ 235.11 มก./กรัมขนไก่ ตามลำดับ และเมื่อทำการจัดจำแนกชนิดของแบคทีเรียทั้ง 3 สายพันธุ์ พบว่า แบคทีเรียทั้ง 3 สายพันธุ์ มีความคล้ายคลึงสูงสุดกับ Bacillus subtilis นอกจากนี้ทำตรวจสอบความเป็นพิษของโปรตีนไฮโดรไลเสตที่ได้จากการย่อยขนไก่ด้วยวิธี MTT กับเซลล์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พบว่าโปรตีนไฮโดรไลเสตที่ได้จากการย่อยขนไก่ด้วยแบคทีเรียสายพันธุ์ LY4.9 ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ ดังนั้น Bacillus subtilis LY4.9 เป็นแบคทีเรียที่มีความปลอดภัยและเหมาะสำหรับนำไปประยุกต์ใช้ในการย่อยสลายขนไก่เหลือทิ้งเพื่อผลิตเป็นโปรตีนทดแทนในอาหารสัตว์หรือผลิตเคราตินเพปไทด์ งานวิจัยนี้ถือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับขนไก่เหลือทิ้งและลดปัญหาของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรม


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2022-26-08 ถึง 23:05