การเปรียบเทียบระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม เกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน ในภาคที่อยู่อาศัย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งนายกัญจน์อธิป ปฐมวัฒนกิจ, ผศ. ดร.ศศิธร สุวรรณเทพ, รศ. ดร.จารุวรรณ ชนม์ธนวัฒน์

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2021

หน้าแรก1154

หน้าสุดท้าย1163

จำนวนหน้า10

URLhttps://spucon.spu.ac.th/filemanager/files/บทความมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์%202%281%29.pdf

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับ การประหยัดพลังงานของประชาชนในอําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ประชากรในการศึกษาคือ ประชาชน ที่มีบ้านอยูอาศัยในอําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี  โดยทําการเลือกกลุ่มตัวอยางแบบแบ่งชั้น จํานวน 400 คน วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน)และสถิติอนุมาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance : ANOVA) ผลการศึกษาพบวา่ กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานในภาคที่อยู่อาศัยในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบระดับความรู้เกี่ยวกับการประหยัดพลังงานในภาคที่อยู่อาศัย พบว่ากลุ่มตัวอย่าง ที่มีระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน จํานวนสมาชิกในครัวเรือน ลักษณะของบ้านเดี่ยว และค่าไฟฟ้าเฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกน มีระดับความรู้เกี่ยวกับการประหยัดพลังงานในภาคที่อยู่อาศัยแตกต่างกัน ในขณะที่ประเภทของ การอยู่อาศัย ไม่มีอิทธิพลต่อระดับความรู้ที่ต่างกัน กล่าวคือกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่บ้านตนเอง หรือ อยู่บ้านเช่า - อาศัยผู้อื่นอยู่ มีระดับความรู้ที่ไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบทัศนคติเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานในภาคที่อยูอาศัย พบว่ากลุ่มตัวอยางที่มีระดับการศึกษา จํานวนสมาชิกในครัวเรือน ลักษณะของบ้านเดี่ยว ประเภทของ การอยู่อาศัย และค่าไฟฟ้าเฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกน มีทัศนคติเกี่ยวกบการประหยัดพลังงานในภาคที่อยู่อาศัยแตกต่างกัน และกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีทัศนคติไม่แตกต่างกัน และเมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรม เกี่ยวกับการประหยัดพลังงานในภาคที่อยู่อาศัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษา จํานวนสมาชิกในครัวเรือน ลักษณะของบ้านเดี่ยว และค่าไฟฟ้าเฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานในภาคที่อยู่อาศัยแตกต่างกัน และกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ต่อเดือนและประเภทของการอยู่อาศัยที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมไม่แตกต่างกัน จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะคือการส่งเสริมการประหยัดพลังงานในภาคที่อยู่อาศัย รัฐบาลควรให้ความสําคัญกับประชาชน ในกลุ่มที่มีจํานวนสมาชิกในครัวเรือนน้อย กลุ่มที่อาศัยบ้านเดี่ยวหลายชั้น กลุ่มที่อาศัยผู้อื่นอยู่และกลุ่มที่มีค่าไฟฟ้าเฉลี่ยต่อเดือนปานกลางเป็นลําดับแรก โดยใช้มาตรการเสริมสร้างความรู้ เกี่ยวกบการประหยัดพลังงาน เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติและทําให้เกิดพฤติกรรมการประหยัดพลังงาน


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2022-29-08 ถึง 23:05