การวิคราะห์สมรรถณะระบบกักเก็บความเย็นในรูปน้ำแข็ง

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งจิรายุทธ ภิรมย์เนตร ทวีวัฒน์ สุภารส

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2022

ชื่อชุดNational Conference on Science and Technology 2022

หน้าแรก112

หน้าสุดท้าย116

จำนวนหน้า5


บทคัดย่อ

เนื่องด้วยปัจจุบันมีเทคโนโลยีเขา้มามีส่วนร่วมการอนุรักษ์ พลังงานการใช้พลังงานของระบบเครื่องทำความเย็นผู้วิจัยจึงมี วัตถุประสงค์ศึกษาการใช้พลังงานของเครื่องทำความเย็นให้มีประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดและมีสมรรถนะการทำความเย็นที่สูงสุด ซึ่งผู้วิจัยจะใช้พลังงานความร้อนเพิ่มอุณหภูมิให้กับสารทำความเย็นโดย การแลกเปลี่ยนความร้อนผ่านอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนและลดการทำงานของคอมเพรสเซอร์โดยที่เครื่องทำความเย็นมีขนาด 9.4 กิโลวัตต์ การศึกษาข้อมูลกำหนดการทำงานของคอมเพรสเซอร์ที่ความถี่ 50Hz, 45Hz, และ 40Hz ใช้ระยะเวลาการทดลอง 12 ชั่วโมง โดยปกติสารทำความเย็นจะมีอุณหภูมิการทำงานอยู่ที่ 62 องศาเซลเซียส ขณะลดรอบการทำงานของคอมเพรสเซอร์ผูวิจัยจะเพิ่มอุณหภูมิให้กับสารทำความเย็นที่ อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน เมื่อคอมเพรสเซอร์ทำงานที่ 45Hz จะเพิ่ม อุณภูมิของสารทำความเย็นที่ 75 องศาเซลเซียส และที่รอบการทำงาน 40Hz จะเพิ่มอุณหภูมิของสารทำความเย็นที่ 95 องศาเซลเซียส ผลจากการทดลองพบว่าเมื่อเปรียบเทียบการใช้พลังงานของระบบทำความเย็นที่ คอมเพรสเซอร์ใช้ความถี่ที่ 40/50 Hz และ 45/50 Hz พบว่าผลประหยัดพลังงานที่ 40/50 Hz สามารถลดการใช้พลังงานได้ถึง 34.36% และ ที่ 45/50 Hz สามารถลดการใช้พลังงานได้ถึง 15.30% และเมื่อเปรียบเทียบ ประสิทธิภาพการทำความเย็นเมื่อการทำงานของคอมเพรสเซอร์ท างานที่ ความถี่ต่างกนั ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำความเย็น (C.O.P.) แตกต่างกัน โดยพบว่า C.O.P. ระบบทำความเย็นที่คอมเพรสเซอร์ทำงาน 50 Hz มี ประสิทธิภาพการทำความเย็นสูงสุดและต่ำสุดที่ 2.31/1.88 , 45 Hz มี ประสิทธิภาพการทำความเย็นสูงสุดและต่ำสุดที่ 2.22/1.83 และ 40Hz ประสิ ทธิ ภาพการทำความเย็นสูงสุดและต่ำสุดที่ 2.19/1.99 เมื่อ เปรียบเทียบข้อมูลประสิทธิภาพการทำความเย็นมีประสิทธิภาพสูงสุด ต่างกันคิดเป็นร้อยละ 3.89%, (50/45Hz) และ 5.19%, (50/40Hz)


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2022-16-09 ถึง 23:05