ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกรูปแบบการเดินทางไปโรงเรียนของเด็กนักเรียน

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งณัฐวุฒิ อะกะเรือน และ วิโรจน์ ศรีสุรภานนท์

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2022

หน้าแรกTRL07-1

หน้าสุดท้ายTRL07-7

URLhttps://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1393

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกรูปแบบ การเดินทางไปโรงเรียนของเด็กนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งใน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน สำรวจข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ได้รับการตอบกลับจากผู้ปกครองทั้งสิ้น 231 คน พบว่าพฤติกรรม การเดินทางไปโรงเรียนในปัจจุบันคือ นักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ 53.3 เดินทางไปโรงเรียนโดยรถรับส่งนักเรียน รองลงมาเป็นรถยนต์ส่วนตัว และ รถจักรยานยนต์ส่วนตัว ร้อยละ 29.0 และ 17.3 ตามลำดับ มีเพียงร้อยละ 0.4 เท่านั้นที่ใช้การเดิน เหตุผลหลักที่ผู้ปกครองเลือกใช้รถรับส่งนักเรียน คือ ไม่มีเวลารับส่งบุตร ส่วนของรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ส่วนตัวคือ เป็นการเดินทางที่ปลอดภัย จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ การถดถอยโลจิสติคพหุกลุ่ม พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกรูปแบบ การเดินทางไปโรงเรียน ได้แก่ ระยะทางในการเดินทาง ระยะเวลาใน การเดินทาง จำนวนรถยนต์ในครอบครอง และการมีใบอนุญาตขับรถยนต์ จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด พบว่ามีนักเรียนเพียงร้อยละ 7.8 เท่านั้น ที่อาศัย อยู่ในระยะทางที่สามารถเดินหรือปั่นจักรยานไปโรงเรียนได้ โดยผู้ปกครอง ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ใช้รถจักรยานยนต์ส่วนตัวในการส่งบุตรหลานไปโรงเรียน มีผู้ปกครองในกลุ่มนี้เพียงร้อยละ 16.7 เท่านั้นที่อนุญาตให้เด็กเดินหรือ ปั่นจักรยานไปโรงเรียนได้ในปัจจุบัน เหตุผลหลักที่ไม่อนุญาตคือ รู้สึก ไม่ปลอดภัย


คำสำคัญ

transportationTravel mode choice


อัพเดทล่าสุด 2022-21-12 ถึง 23:05