การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการพ่นสีหัวรถบรรทุก

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งธนพนธ์ เริงวิจิตรา, ลัทธนันท์ เหลืองเจริญ, สัณหวัช เหม่ากระโทก, ปุณยะวี สุวรรณโชติ, ณัฐนิช เม่ามูลเฮ, นัทธ์ชนัน มีบุญมาก, วีรวรรณ เหล่าศิริพจน์

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2022

ชื่อชุดSPUCON2022

หน้าแรก2955

หน้าสุดท้าย2965

จำนวนหน้า11

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตของกระบวนการพ่นสีหัวรถบรรทุกของบริษัท อีซู ซุมอเตอร์ (ประเทศไทย) จํากัด หรือ “IMCT”   ให้ได้ตามแผนการผลิตที่กําหนดไว้ในแต่ละเดือน โดยปรับปรุง กระบวนการซ่อมสี(Touch Up Process) เพื่อให้กระบวนการผลิตเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง และลดปริมาณ ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในกระบวนการ จากการศึกษาพบว่าในกระบวนการผลิตมีความสูญเปล่าเกิดขึ้นกล่าวคือ ใน กระบวนการพ่นสีเกิดการรอคอยงาน และเกิดปริมาณข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไขในจุดกระบวนการซ่อมสี ทําให้ไม่ สามารถส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้ทันเวลา ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ จึงทําการปรับปรุงกระบวนการซ่อมสี และลด ปริมาณข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น โดยวิธีการดําเนินงานแบ่งเป็น 2 ช่วงซึ่งทําต่อเนื่องกันเป็นขั้นตอน ในช่วงแรกได้ทํา การขยายบูธเพื่อลดคอขวดในกระบวนการซ่อมสี และลด Man Hour ในระบบลง ทําให้ค่าประสิทธิภาพการผลิต ต ซึ่ ่อชั่วโมง (Job Per Hour : JPH) เพิ่มขึ้น ซึ่งค่าก่อนทําการขยายบูธมีค่า 3.70 JPH และหลังทําการขยายบูธมีค่า 6.13 งเพิ่มขึ้น 2.43 JPH คิดเป็น 65.67 % ในช่วงต่อมาได้ทําการใช้เทคนิคการสร้างแรงจูงใจเรียกว่าระบบ “Key Man” ซึ่งเป็นระบบเฉพาะของบริษัทไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์ จํากัด (มหาชน) เพื่อลดปริมาณข้อบกพร่อง ซึ่งค่าก่อนใช้ Key Man มีค่า 6.13 JPH และหลังใช้ Key Man  มีค่า 6.88 JPH ซ ึ่ งเพิ่มขึ้นจากเดิม 0.75 JPH คิดเป็น 12.23 % หลังทํา การปรับปรุงแก้ไขโดยใช้วิธีการดําเนินงานทั้ง 2 ส่วน ให้ได้ตามวัตถุประสงค์ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2565ถึง เมษายน 2565 มีค่าประสิทธิภาพของการผลิตเพิ่มขึ้นรวมเท่ากับ 3.18 JPH คิดเป็น 86.05 % 


คำสำคัญ

ประสิทธิภาพ


อัพเดทล่าสุด 2023-16-02 ถึง 23:05