ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบเปรียบเทียบร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อการพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ และทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง อะตอมและสมบัติของธาตุ

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งThanaporn Watsanga, Kornvalai Panpae

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2022

Volume number5

Issue number3

หน้าแรก1

หน้าสุดท้าย13

จำนวนหน้า13

นอก2774-1370

URLhttps://so02.tci-thaijo.org/index.php/edunsrujo/article/view/257020


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบมโนมติทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของผู้เรียนด้วยการสอนแบบเปรียบเทียบร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เรื่อง อะตอมและสมบัติของธาตุ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียนของผู้เรียนด้วยการสอนแบบเปรียบเทียบร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์เรื่อง อะตอมและสมบัติของธาตุ การออกแบบการวิจัย คือ แบบศึกษากลุ่มเดียววัดสองครั้ง กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 จานวน 30 คน แผนการเรียนวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2/2564 สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งหนึ่งในจังหวัดลพบุรี วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling ) ระยะเวลาเรียน 19 คาบ เครื่องมือการวิจัยที่ใช้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง อะตอมและสมบัติของธาตุ 2) ใบงานประกอบแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง อะตอมและสมบัติของธาตุ 3) แบบทดสอบมโนมติทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบเปรียบเทียบร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เรื่อง อะตอมและสมบัติของธาตุ เพื่อวัดมโนมติทางวิทยาศาสตร์และวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และ 4) แบบสอบถามปลายเปิดเพื่อวัดความพึงพอใจของนักเรียนก่อนและหลังจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบเปรียบเทียบร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ t-test for dependent samples ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบเปรียบเทียบร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เรื่อง อะตอมและสมบัติของธาตุมีความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์เรื่อง อะตอมและสมบัติของธาตุหลังเรียนสูงกว่านักเรียนก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบเปรียบเทียบร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์มีทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง อะตอมและสมบัติของธาตุ หลังเรียนสูงกว่านักเรียนก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ3) นักเรียนมีความพึงพอใจที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบเปรียบเทียบร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ว่าสามารถช่วยให้การเรียนเรื่อง อะตอมและสมบัติของธาตุเข้าใจได้มากขึ้น เห็นภาพ และจดจาได้ง่ายขึ้นและทักษะการคิดวิเคราะห์ของตัวเองได้รับการพัฒนา


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2023-25-03 ถึง 23:05