การประมวลสัญญาณจากสถานีพยากรณ์อากาศ เพื่อควบคุมการผลิตไฟฟ้าของกังหันลม
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Jumlong Malaket;Somthawin Khunkhet;Werapon Chiracharit;Jompob Waewsak;Tanate Chaichana;Yingrak Auttawaitkul
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2022
Volume number: 12
Issue number: 1
หน้าแรก: 117
หน้าสุดท้าย: 130
จำนวนหน้า: 14
นอก: 2651-1282
eISSN: 2651-1290
URL: https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/241902
บทคัดย่อ
การประมวลสัญญาณจากสถานีพยากรณ์อากาศเพื่อควบคุมผลิตไฟฟ้าของกังหันลมนั้นเป็นอีกแนวทางที่ช่วยเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมให้มีประสิทธิภาพสูงสุด อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องและส่งผล กระทบต่อกระบวนการผลิต อย่างเช่น ขั้นตอนการทำงานของกังหันลม กำลังสูญเสียขณะรอการผลิต ความเร็วที่ขาดความต่อเนื่องไม่สม่ำเสมอทำให้มีผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้า โดยทั่วไปแล้วกังหันลมจะมีระบบทำการตรวจวัดความเร็ว ทิศทางและความต่อเนื่องของลมเพื่อประมวลผลสำหรับการเริ่มกระบวนการผลิตไฟฟ้า กังหันลมที่ใช้ในการศึกษานี้ มีตำแหน่งที่ตั้งอยู่ที่ อำเภอซับใหญ่ จังหวัดชัยภูมิ มีขนาดกำลังการผลิต 2.5 เมกะวัตต์ต่อต้น ซึ่งต้องให้หน้ากังหันต้องอยู่ตรงกับทิศของลมจึงจะเริ่มกระบวนการผลิตไฟฟ้า จากการเก็บข้อมูลลมประจำปีที่ผ่านมาพบว่าลมที่พัดผ่านกังหันลมมี 2 ลักษณะ คือ ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน ลมจะพัดทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ลมพัดทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ งานวิจัยนี้นำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลเฉลี่ยของทิศทางและความเร็วลมที่ได้จากสถานีพยากรณ์อากาศที่ติดตั้งภายในโครงการผ่านระบบสกาดาเพื่อควบคุมขั้นตอนการผลิตไฟฟ้าของกลุ่มกังหันลมจำนวน 6 ต้น จากทั้งหมดจำนวน 32 ต้น รวมกำลังการผลิต 80 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทำให้รู้ว่าลมที่พัดผ่านกังหันลมมีความสามารถในการผลิตไฟฟ้าได้โดยไม่ต้องตรวจวัดความเร็วลมและทิศทางลมในแบบเดิม ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลการควบคุมการผลิตจะทำให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ 275.7 เมกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี
คำสำคัญ
สถานีพยากรณ์อากาศ