การพัฒนาบทเรียนแบบผสมผสาน เรื่องโปรแกรมประมวลผลคำสำหรับระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งPHATPHICHA PANTHONG and KANITTHA BANGPOOPHAMORN

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2023

ชื่อชุดThe 4th Santapol Academic and Research Nation Conference

เลขในชุด4

หน้าแรก99

หน้าสุดท้าย106

จำนวนหน้า8

URLhttps://drive.google.com/file/d/1LZlFdb7BcSKgbwLv29xcdETIdiMbvTSe/view?pli=1

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาบทเรียนแบบผสมผสาน เรื่องโปรแกรมประมวลผลคา สาหรับผู้เรียนระดับ ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ (1) เพื่อพัฒนาบทเรียนแบบผสมผสาน เรื่อง โปรแกรมประมวลผลคา สาหรับผู้เรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) (2) เพื่อศึกษาคุณภาพการพัฒนาบทเรียนแบบผสมผสาน และประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนระหว่าง ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยกิจกรรมการพัฒนาการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น และ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้บทเรียนแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาชั้นประกาศนียบัตร (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนครพนม ภาคเรียนที่ 2/2565 จานวน 12 คน ได้โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการพัฒนาบทเรียนแบบผสมผสาน เรื่องโปรแกรมประมวลผลคา ที่พัฒนาขึ้นในรูปแบบเว็บไซต์ (2) คุณภาพของบทเรียนแบบผสมผสาน เรื่องโปรแกรมประมวลผลคา มีคุณภาพอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับดีเท่ากับ 4.33 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ0.05 และมีประสิทธิภาพของบทเรียนแบบผสมผสาน เท่ากับ 83.00/83.89 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่า เกณฑ์ที่ตั้งไว้ (80/80) (3) ผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสาน เรื่องโปรแกรมประมวลผลคา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียน แตกต่างจาก หลังเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนแบบผสมผสาน เรื่องโปรแกรมประมวลผลคา อยู่ในระดับมากที่สุด


คาสาคัญ : บทเรียนแบบผสมผสาน; โปรแกรมประมวลผลคา; ประกาศนียบัตรวิชาชีพ


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2023-28-06 ถึง 11:59