การจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้การระดมความคิดผ่านการเขียน กรณีศึกษารายวิชานิวเมติกส์และไฮดรอลิกส
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Wikanda Kets-ard and Anusit Anmanatarkul
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2023
หน้าแรก: 13
หน้าสุดท้าย: 23
จำนวนหน้า: 11
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียน เพื่อหาคุณภาพและประสิทธิภาพของแผนการ จัดการเรียนรู้ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนในการจัดการเรียนรู้และเพื่อหาความพึงพอใจของผู้เรียนใน การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ผ่านกิจกรรมแบบการระดมความคิดผ่านการเขียน (Brainwriting) กรณีศึกษารายวิชานิวเมติกส์และไฮดรอลิกส์ กลุ่มตัวอย่างระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2565 จ้านวน 36 คน หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนการจัดการเรียนรู้เชิง รุก ฯ ซึ่งมีเครื่องมือท่ีใช้ในการวิจัย ได้แก่ มอดูลการจัดการเรียนรู้จ้านวน 4 มอดูล แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน ก่อนเรียน – หลังเรียน กิจกรรมการเรียนรู้ แบบฝึกหัด และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพของแผนการเรียนรู้อยู่ในระดับดีมาก (𝑥̅ = 4.67, S.D. = 0.44) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดย คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 มีค่าประสิทธิภาพบทเรียน (E1/E2) มีค่า เท่ากับ 85.01/83.33 และการประเมินความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับดี (𝑥̅ = 4.31, S.D. = 0.10) แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้จริงและความรู้ที่ติดตัวผู้เรียนไปตลอด และจะเป็นความรู้ แบบ “รู้แล้วรู้เลย” เพราะเป็นองค์ความรู้ท่ีผู้เรียนได้ลงมือสกัดด้วยตนเอง
คำสำคัญ
Active Learning, Learning