การสร้างวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์ส่วนส่งเสริมรายการ บมจ. อสมท โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Problem Agitate Solve

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งKuntida Thamwipat, Pornpapatsorn Princhankol, Supapit Silawan, Onarriya Chuatrakul and ThanisaVicheansin

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2023

Volume number3

Issue number1

หน้าแรก66

หน้าสุดท้าย79

จำนวนหน้า14

URLhttps://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/249895/169213

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

จากการที่หน่วยงาน ส่วนส่งเสริมรายการ บมจ. อสมท ยังไม่เป็นที่รู้จักในกลุ่มนักศึกษาฝึกงานชั้นปีที่ 3 งานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและประเมินคุณภาพของวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์ ส่วนส่งเสริมรายการ บมจ. อสมท โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Problem Agitate Solve เพื่อประเมินผลการรับรู้และความพึงพอใขของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อวิดีโอคอนเทนต์ที่พัฒนาขึ้น  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอ แบบประเมินผลการรับรู้และแบบประเมินความพึงพอใจ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ดำเนินการโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง จากบุคคลที่เป็นสมาชิกใน กลุ่มเฟซบุ๊ก : เป็นเด็กฝึกงานสนุกจัง และยินดีตอบแบบสอบถามจำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา ได้สร้างคลิปวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์ ส่วนส่งเสริมรายการ บมจ. อสมท โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Problem Agitate Solve จำนวน 1 คลิป และพบว่ามีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา อยู่ในระดับดี (= 4.26, S.D. = 0.71) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนอ อยู่ในระดับดี ( = 4.36, S.D.= 0.49) ผลการประเมินการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในระดับมาก (= 4.36, S.D. = 0.21) และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในระดับมาก (= 4.38, S.D. = 0.73) ดังนั้นวิดีโอคอนเทนต์ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้งานได้จริงอย่างมีคุณภาพ


คำสำคัญ

Public Relations Media


อัพเดทล่าสุด 2023-04-07 ถึง 23:05