การสร้างสื่อบทเรียนดิจิทัลร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมการสร้างผลงานสื่ออินโฟกราฟิก

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งWaruch Tantiwong, Peangpen Jirachai and Sopon Meejaleurn

ผู้เผยแพร่คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2023

ชื่อย่อของวารสารJLIT

Volume number3

Issue number1

หน้าแรก68

หน้าสุดท้าย82

จำนวนหน้า15

นอก2773-9740

eISSN2773-9759

URLhttps://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/260363


บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาคุณภาพของบทเรียนดิจิทัลร่วมกับกระบวนการสอนแบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมการสร้างสื่ออินโฟกราฟิกของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการสร้างสื่ออินโฟกราฟิก ของนักศึกษาฯ3) เพื่อประเมินการสร้างผลงานสื่ออินโฟกราฟิกของนักศึกษาฯ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาฯที่มีต่อบทเรียนดิจิทัลร่วมกับกระบวนการสอนแบบ Active Learning ที่สร้างขึ้น  โดยกลุ่มที่ศึกษา คือนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีสื่อสารและอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ซึ่งได้มาโดยการซึ่งได้มาจากการสุ่มห้อง ได้ห้องเรียน 1 ห้อง จำนวน 57 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อของการสร้างสื่อบทเรียนดิจิทัลร่วมกับกระบวนการสอนแบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมการสร้างผลงานสื่ออินโฟกราฟิกโดยผู้เชี่ยวชาญนั้นมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.67, S.D. = 0.48) ผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนการวัดความรู้หลังเรียน (gif.latex?\bar{X}= 15.40, S.D. = 2.72) สูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนการวัดความรู้ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยกลุ่มตัวอย่างออกแบบชิ้นงานได้คุณภาพผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทุกคน (ร้อยละ 100.00) และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อบทเรียนดิจิทัลร่วมกับกระบวนการสอนแบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมการสร้างผลงานสื่ออินโฟกราฟิก พบว่า มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 3.88, S.D. = 0.93) ดังนั้นสื่อบทเรียนดิจิทัลร่วมกับกระบวนการสอนแบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมการสร้างผลงานสื่ออินโฟกราฟิก จึงสามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีคุณภาพ


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-15-06 ถึง 00:00