ผู้ให้บริการกับพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วในเมืองท่องเที่ยว: กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งIttisak Jirapornvaree and Suppakit Taweesaga

ผู้เผยแพร่HRDI Co., Ltd.,

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2023

Volume number3

Issue number1

หน้าแรก38

หน้าสุดท้าย51

จำนวนหน้า14

URLhttps://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/600

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

ปัญหาขยะพลาสติกของประเทศไทย ถือเป็นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความจำเป็นต้องได้รับการจัดการอย่างเป็นระบบ หนึ่งในวิธีการจัดการขยะพลาสติกควรคำนึงถึงเรื่องพฤติกรรมของผู้ให้บริการและผู้บริโภคเป็นสำคัญ การศึกษาเรื่องผู้ให้บริการกับพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วในเมืองท่องเที่ยว กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับถุงพลาสติกหูหิ้วของผู้บริโภคในการใช้บริการผู้ให้บริการในเมืองท่องเที่ยว โดยใช้เทคนิคการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมในการเก็บข้อมูลบริเวณ ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าท้องถิ่น ร้านสะดวกซื้อ และตลาดสด จำนวน 9 ครั้ง ผู้สังเกตการณ์จำนวน 3 คน โดยในแต่ละใช้ระยะเวลาในการสังเกตการณ์ประมาณ 45 – 60 นาทีต่อสถานที่ และใช้สถิติ t-test และ One-way ANOVA ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการศึกษาพบว่า ประเภทของผู้ให้บริการมีผลต่อพฤติกรรมการรับถุงพลาสติกหูหิ้วของผู้บริโภคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเฉพาะพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า และถนนคนเดิน ในทางกลับกันร้านค้าท้องถิ่น และตลาดสด พฤติกรรมของผู้บริโภคไม่มีความแตกต่างกัน ข้อค้นพบจากการศึกษาในครั้งนี้จะเป็นข้อมูลสำคัญในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายของผู้ให้บริการในการจัดการขยะพลาสติกแบบมุ่งเป้าเพื่อที่จะนำไปสู่เป้าหมายการจัดการขยะพลาสติกของประเทศไทยภายใต้แผนแม่บทการจัดการขยะพลาสติกของประเทศไทย 13 ปี ที่กำหนดเป้าหมายในการลด เลิกใช้ และนำกลับมาใช้ประโยชน์ 100 เปอร์เซ็นต์


คำสำคัญ

Plastic Bagการจัดการขยะ,ขยะจากภัยพิบัติ,ขยะพลาสติก,การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, Solid waste management,Disaster waste,Plastic waste,Network STrengthening,Network strengthening: S&T


อัพเดทล่าสุด 2023-09-10 ถึง 23:10