การทดสอบประสิทธิภาพการต้านเชื้อโรคด้วยสารละลายสารแกรฟีนอกไซด์และแคลเซียมแลคเทตโดยใช้วิธีการนับพิกเซล

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งWachiraporn Choopan, Navapadol Kittiamornkul and Phitsini Suvarnaphaet

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2023

วารสารInternational Journal of Applied Biomedical Engineering (1906-4063)

Volume number16

Issue number2

หน้าแรก21

หน้าสุดท้าย27

จำนวนหน้า7

นอก1906-4063

URLhttps://www.ijabme.net/journal/ijabme16_2_3.pdf

ภาษาEnglish-United States (EN-US)


บทคัดย่อ

วิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพทางชีวภาพของแกรฟีนออกไซด์และแคลเซียมแลคเทตบนกระดาษกรอง, โดยใช้วิธีการนับพิกเซล (Pixel counting) เพื่อวัดประสิทธิภาพทางชีวภาพ ในการศึกษานี้ สารทดสอบที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพทางชีวภาพถูกแบ่งเป็น 3 ชนิด ได้แก่ สารแกรฟีนออกไซด์, สารแคลเซียมแลคเทต, และสารผสมระหว่างแกรฟีนออกไซด์และแคลเซียมแลคเทต ในการทดลองใช้กระดาษกรองขนาด 2cm x 2cm จะถูกแช่ในสารทดสอบ จากนั้นทำการอบแห้ง ต่อมากระดาษกรองจะถูกนำไปฉายรังสี UV เพื่อฆ่าจุลินทรีย์ที่อาจมีอยู่บนกระดาษกรอง หลังจากนั้นกระดาษกรองถูกนำไปวางไว้ในอากาศเป็นเวลา 20 นาทีเพื่อรับเชื้อจุลินทรีย์ และกระดาษกรองที่มีจุลินทรีย์จากอากาศจะถูกนำไปอบเพาะเชื้อที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 7 วัน วิธีการนับพิกเซลถูกใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของวิจัยนี้ เป็นการวัดการกระจายของเชื้อจุลินทรีย์โดยแปลงเป็นภาพขาวดำ จากนั้นใช้กราฟฮิสโตแกรมเพื่อนับพิกเซลของพื้นที่สีดำเทียบกับพื้นที่ทั้งหมด ผลลัพธ์แสดงให้เห็นปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ในสารแกรฟีนออกไซด์กระจายอยู่ที่ 12.16% เชื้อจุลินทรีย์ในสารแคลเซียมแลคเทตกระจายอยู่ที่ 21.08% และเชื้อจุลินทรีย์ในสารผสมระหว่างแกรฟีนออกไซด์และแคลเซียมแลคเทตกระจายอยู่ที่ 26.23%


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-28-02 ถึง 23:05