กลไกการพัฒนาย่านแห่งการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมและบูรณาการแบบจตุภาคี ในพื้นที่รอบคลองผดุงกรุงเกษม กรุงเทพมหานคร

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งKISNAPHOL WATTANAWANYOO and LALITA OUNSAKULSEREE

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2023

หน้าแรก706

หน้าสุดท้าย716

จำนวนหน้า11

URLwww.berac.tds.tu.ac.th

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการนำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้นจากโครงการวิจัย “การยกระดับและการพัฒนาย่านแห่งการเรียนรู้ผ่าน กลไกห้องวิจัยมีชีวิต ห้องเรียนเมือง และกระบวนการจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาพื้นที่รอบคลองผดุงกรุงเกษม กรุงเทพมหานคร” (ปี 2565-66) โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการนำเสนอกลไกการพัฒนาย่านแห่งการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการ มีส่วนร่วมและกลไกการทำงานแบบจตุภาคี (Quadruple Helix Model) ประกอบด้วยเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง 4 ภาคส่วนหลัก ได้แก่ 1) ภาครัฐ 2) ภาคเอกชน 3) ภาคการศึกษา และ 4) ภาคประชาชน ซึ่งได้นำกรอบแนวคิด ห้องวิจัยมีชีวิต (Living Lab), ห้องเรียนเมือง (Urban Classroom) และกระบวนการจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม (Participatory Budgeting) มาประยุกต์ใช้ในการขั้นตอนการทำวิจัย จากผลการศึกษาพบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และการทำงาน แบบจตุภาคีนั้นคือหัวใจสำคัญในการช่วยผลักดันการพัฒนาเมือง และในขณะเดียวกัน กระบวนการนี้ยังสามารถชี้ให้เห็นถึง ประเด็นปัญหา ความต้องการ และองค์ความรู้ท้องถิ่นและชุมชน ซึ่งนำไปสู่การจัดทำคลังข้อมูลโครงการ และฐานข้อมูลเมือง ที่จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเมืองในอนาคต ผลการดำเนินการสะท้อนให้เห็นผลกระทบเชิงบวกในการพัฒนาเมืองและ ย่านแห่งการเรียนรู้รอบคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาระดับพื้นที่ และนำไปสู่กลไกความร่วมมือในการ พัฒนาย่าน การพัฒนาเมืองผ่านนโยบาย และกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลเมือง การถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านการทำงาน ร่วมกันระหว่างแต่ละภาคส่วน เพื่อให้เกิดการพัฒนาเมืองอย่างมีส่วนร่วมและมีคุณภาพที่ดีขึ้น


คำสำคัญ

DevelopmentLearningParticipatory Design


อัพเดทล่าสุด 2024-22-01 ถึง 23:05