การพัฒนาแบบจำลองพลังงานแบบบูรณําการของอาคารในเมืองพัทยา ประเทศไทย

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งNat Nakkorn, Suparatchai Vorarat, Aumnad Phdungsilp

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2023

Volume number17

Issue number3

หน้าแรก56

หน้าสุดท้าย71

จำนวนหน้า16

URLhttps://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/261947

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

การเปลี่ยนผ่านระบบพลังงานไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนนั้นจำเป็นที่จะต้องมีแนวความคิดหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ สิ่งเหล่านี้สามารถเข้ามาช่วยสนับสนุนให้รัฐบาลท้องถิ่นและผู้ที่มีส่วนได้เสียในการกำหนดนโยบายด้านพลังงาน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและนำเสนอวิธีการในการสร้างแบบจำลองพลังงานอาคารแบบบูรณาการรวมถึงการวิเคราะห์มาตรการอนุรักษ์พลังงานและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานในเขตเมือง ในงานวิจัยได้ใช้เมืองพัทยาในประเทศไทยเป็นกรณีศึกษา โดยมีขอบเขตเฉพาะอาคารประเภทที่อยู่อาศัยเท่านั้น ผลการวิจัยพบว่า จากอาคารทั้ง 6 ประเภทอาคาร คือ (1) บ้านเดี่ยว (2) อาคารเดี่ยว (3) บ้านสองชั้น (4) ทาวน์เฮ้าส์ (5) อาคารพาณิชย์ และ (6) โรงแรมและคอนโดมิเนียม ในกรณีอ้างอิงมีการใช้พลังงานรวม 44,176,062 MWh/yr และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวม 25,714,886 tCO2e/yr การวิเคราะห์มาตรการการลดการใช้พลังงาน พบว่า การเปลี่ยนกระจกสองชั้นด้วยการเคลือบแบบ Low-E การติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่ผนังและหลังคา ฟิล์มกันความร้อน และการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนชั้นดาดฟ้ามีศักยภาพสูงในการประหยัดพลังงานและลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้พลังงาน มาตรการเหล่านี้นำไปสู่การประหยัดพลังงานรวม 12,908,646 MWh/yr และลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 7,514,123 tCO2e/yr โดยวิธีการที่นำเสนอใช้สำหรับการตัดสินใจทางด้านพลังงานและความเป็นกลางทางคาร์บอนในเมืองจะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลท้องถิ่นและผู้กำหนดนโยบายด้านพลังงาน


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-16-02 ถึง 23:05