การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง กระบวนการเชื่อมความต้านทานชนิดจุด สำหรับนักศึกษาครุศาสตร์อุตสาหการ
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Pongtida Buasongkror, Phanudet Makhasuwannadit, Anchalee Klaisuban and Prachya Peasura
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2023
หน้าแรก: 114
หน้าสุดท้าย: 124
จำนวนหน้า: 11
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง กระบวนการเชื่อมความต้านทานชนิดจุด สำหรับนักศึกษาครุศาสตร์อุตสาหการ 2) เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง กระบวนการเชื่อมความต้านทานชนิดจุด 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับ การเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง กระบวนการเชื่อมความต้านทานชนิดจุด สำหรับนักศึกษาครุศาสตร์อุตสาหการ 4) เพื่อศึกษาทักษะปฏิบัติ เรื่อง กระบวนการเชื่อมความต้านทานชนิดจุดสำหรับนักศึกษาครุศาสตร์อุตสาหการ กลุ่มตัวอย่างวิจัย คือ นักศึกษาภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา PTE 223 Welding Technology I ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ได้จากการ สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง กระบวนการเชื่อมความต้านทานชนิดจุด 2) แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง กระบวนการเชื่อมต้านทานชนิดจุด 3) แบบสอบวัดความรู้ระหว่างเรียนและหลังเรียน เรื่อง กระบวนการเชื่อมความต้านทานชนิดจุด 4) แบบสอบปฏิบัติ เรื่อง กระบวนการเชื่อมความต้านทานชนิดจุด 5) บทเรียนออนไลน์ เรื่อง กระบวนการเชื่อมความต้านทานชนิดจุด 6) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนออนไลน์ เรื่อง กระบวนการเชื่อมความต้านทานชนิดจุด ผลการวิจัยพบว่า ค่าคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง กระบวนการเชื่อมความต้านทานชนิดจุดสำหรับนักศึกษาครุศาสตร์อุตสาหการ พบว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเท่ากับ (𝑥̅ = 3.98 , S.D. = 0.59 ) ผลการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง กระบวนการเชื่อมความต้านทานชนิดจุด พบว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับดี มีค่าเท่ากับ (𝑥̅ = 4.02, S.D. = 1.27) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคะแนนทักษะปฏิบัติของผู้เรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้
คำสำคัญ
กระบวนการเชื่อมความต้านทานชนิดจุด, การเรียนแบบผสมผสาน, การเรียนแบบร่วมมือ, แผนจัดการเรียนรู้