การสารวจความคิดเห็นเรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัทคลังสินค้าแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดชลบุรี

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งญาณิศา ฤทธาภรณ์, ชุมพล มณฑาทิพย์กุล

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2022

Volume number17

Issue number2

หน้าแรก1

หน้าสุดท้าย16

จำนวนหน้า16

นอก1905-2693

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุ และศึกษาแนวทาง
การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ในคลังสินค้าของบริษัทคลังสินค้าแห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัด
ชลบุรี โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ 1. พนักงานคลังสินค้า จานวน 127 คน และ 2. ตัวแทนผู้บริหาร
ของบริษัท และตัวแทนคณะกรรมการความปลอดภัยของบริษัท จานวน 13 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้
แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติกส์แบบ 2 กลุ่ม (Binary Logistic Regression
Analysis) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุ จานวน 5 ปัจจัย คือ ปัจจัยสถานภาพส่วนบุคคล ปัจจัย
พฤติกรรมการปฏิบัติงาน ปัจจัยอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ปัจจัยสภาพแวดล้อม และปัจจัยการจัดการความ
ปลอดภัย ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยสถานภาพส่วนบุคคลด้านอายุ 20-30 ปี และ 31-40 ปี ของพนักงาน
คลังสินค้า มีโอกาสสูงที่จะส่งผลต่อความสูญเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุในคลังสินค้าของบริษัท ด้านร่างกายของ
พนักงานคลังสินค้าในทิศทางลดลง 0.189 และ 0.111 เท่า อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ 0.05 ตามลาดับและมี
เปอร์เซ็นต์รวมของการพยากรณ์ถูกต้อง ร้อยละ 85.80 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ 0.05 ปัจจัยพฤติกรรมการ
ปฏิบัติงานของพนักงานคลังสินค้า ด้านลัดขั้นตอนปฏิบัติงานหรือละเลยการปฏิบัติงานตามนโยบาย กฎระเบียบ
และแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยของบริษัท มีโอกาสสูงที่จะส่งผลต่อความสูญเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุ
ในคลังสินค้าของบริษัท ด้านร่างกายของพนักงานคลังสินค้าในทิศทางเพิ่มขึ้น 2.242 เท่า อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ
ที่ 0.05 และมีเปอร์เซ็นต์รวมของการพยากรณ์ถูกต้อง ร้อยละ 87.40 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.05 และมีเปอร์เซ็นต์รวมของการพยากรณ์ถูกต้อง ร้อยละ 87.40 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.05 ปัจจัยพฤติกรรม
การปฏิบัติงานของพนักงานคลังสินค้า ด้านปฏิบัติงานแทนผู้อื่นโดยขาดความรู้ และประสบการณ์ในเรื่องที่
ทาแทน มีโอกาสสูงที่จะส่งผลต่อความสูญเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุในคลังสินค้าของบริษัท ด้านทรัพย์สินของบริษัท
ในทิศทางเพิ่มขึ้น 1.629 เท่า อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.05 และมีเปอร์เซ็นต์รวมของการพยากรณ์ถูกต้อง
ร้อยละ 86.51 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.05 มีแนวทางการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในคลังสินค้าของบริษัท
ได้แก่ กาหนดความเร็วและติดตั้งป้ายแจ้งเตือนความเร็วรถ ติดตั้งจอแสดงความเร็วรถแบบตัวเลขบนรถทุกคัน
พนักงานขับรถโฟล์คลิฟท์ได้เพียงผู้เดียว ห้ามบรรทุกน้าหนักเกินกว่ากาหนด ต้องสวมรองเท้าและหมวกนิรภัย
ทุกครั้ง ฝึกอบรมพนักงานขับรถโฟล์คลิฟท์ และพนักงานคลังสินค้าทุกคน ทุกๆ 3 เดือน และ 6 เดือนตามลาดับ
ติดตามและรายงานพฤติกรรมการขับรถของพนักงานขับรถโฟล์คลิฟท์ทุกวัน มีการตรวจสุขภาพประจาปี รับฟัง
ปัญหา และข้อเสนอแนะ จากพนักงานคลังสินค้าทุกสัปดาห์ กาหนดระดับความรุนแรงของความสูญเสีย
บทลงโทษและรางวัล คณะกรรมการความปลอดภัยประสานความร่วมมือกับฝ่ายบุคคลของบริษัททุก ๆ 6 เดือน


คำสำคัญ

Factor of safety


อัพเดทล่าสุด 2024-14-03 ถึง 23:06