ความเสี่ยงของกระบวนการส่งออกของบริษัทผู้ส่งออกวัสดุทดแทนไม้แห่งหนึ่งในประเทศไทยในช่วงโควิด 19

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งAnanya Pumrak, Chumpol Monthatipkul and Sanga Monthatipkul

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

Volume number10

Issue number1

หน้าแรก82

หน้าสุดท้าย96

จำนวนหน้า15

นอก2408-2740

eISSN2651-1622

URLhttps://so03.tci-thaijo.org/index.php/Logis_j/article/view/264860/182404

ภาษาThai (TH)


ดูบนเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมการทำงานหลักในการส่งออกวัสดุทดแทนไม้ในช่วงโควิด 19 ของบริษัทแห่งหนึ่ง วิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และนำเสนอแนวทางในการป้องกันความเสี่ยง เป็นการวิจัยประยุกต์และวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเฉพาะเจาะจงกับบริษัทแห่งหนึ่ง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมระดมสมอง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมด 10 รายที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนด จากบุคลากรในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกทั้งหมด 37 ราย  คำถามเป็นแบบปลายเปิดที่สอดคล้องกับกรอบการวิจัย โดยมีการทวนสอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ราย มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67 และ 1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นแบบอุปนัยและใช้การทวนสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการศึกษาพบว่า  บริษัทมีกิจกรรมการทำงานหลักในกระบวนการส่งออกวัสดุทดแทนไม้ทั้งหมด 9 กิจกรรมหลัก และพบข้อบกพร่องในกระบวนการทำงานทั้งหมด 29 รายการ ข้อบกพร่องทั้งหมดถูกนำมาวิเคราะห์ความเสี่ยงด้วยค่าเลขลำดับความเสี่ยง (RPN) ซึ่งผลการคำนวณพบว่าค่าเลขลำดับความเสี่ยงมีค่าตั้งแต่ 2 จนถึง 125 โดยข้อบกพร่องที่มีเลขลำดับความเสี่ยงสูงสุด คือ การไม่มีพื้นที่ระวางเรือเพื่อส่งสินค้าออก ซึ่งเกิดจากการล็อกดาวน์และการระงับการเข้าออกของประเทศปลายทาง จากการคัดเลือกข้อบกพร่องที่มีความเสี่ยงสูงสุด 10 อันดับแรก เพื่อกำหนดมาตรการรองรับความความเสี่ยง และนำมาตรการดังกล่าวไปทดลองปฏิบัติงานจริงเป็นเวลาทั้งหมด 2 เดือน ภายหลังการทดลองปฏิบัติงาน พบว่าสามารถลดค่าเลขลำดับความเสี่ยงใหม่ลงได้มากกว่าร้อยละ 50


คำสำคัญ

failure mode and effects analysis


อัพเดทล่าสุด 2024-14-03 ถึง 23:06