การศึกษาความต้องการในการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R) ของบุคลากรสายสนับสนุน : กรณีศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Somsri Binraman
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
หน้าแรก: 578
หน้าสุดท้าย: 585
จำนวนหน้า: 8
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research : R2R) เป็นการใช้งานวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือทำให้เกิดการสร้างความรู้และนำมาซึ่งการพัฒนางานประจำ ซึ่งผลงานวิจัยที่ได้มาเพื่อจะนำไปพัฒนางานประจำให้ดีขึ้น และเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน พัฒนางาน ขับเคลื่อนองค์กรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาความต้องการ ในการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุนที่อยู่ในคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ 2) เพื่อหาแนวทางส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R) ของบุคลากรสายสนับสนุนในคณะ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนา การศึกษามีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคลากรสายสนับสนุนทั้งหมด 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ แบบสอบถามออนไลน์ที่มีลักษณะเป็นคำถามปลายปิด การวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรสายสนับสนุนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 66.7 อยู่ในช่วงอายุ 30-40 ปี ร้อยละ 36.7 ตำแหน่งนักบริหารงานทั่วไปร้อยละ 20 สถานะเป็นพนักงานร้อยละ 83.3 สังกัดสาขาวิชาร้อยละ 56.7 วุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทร้อยละ 53.3 มีอายุงาน 10-20 ปีร้อยละ 33.3 บุคลากรร้อยละ 80 มีความต้องการที่จะทำ R2R โดยมีเหตุผลส่วนใหญ่คือ การพัฒนาศักยภาพตนเองและสร้างความรู้ใหม่ด้วยตนเอง คิดเป็นร้อยละ 76.9 ในขณะที่เหตุผลของผู้ที่ไม่ต้องการทำ R2R ส่วนใหญ่คือ มีภาระงานประจำมากเกินไปจึงไม่มีเวลาทำ คิดเป็นร้อยละ 69.2 ส่วนประเด็นความต้องการที่จะได้รับการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการทำ R2R คือการวิเคราะห์หรือกำหนดหัวข้อปัญหา การสร้างและเลือกใช้เครื่องมือ การแปลผลวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล และการเขียนโครงการเสนอของบประมาณ อยู่ในระดับมาก ( = 3.85, S.D. = 0.79) บุคลากรต้องการให้องค์กรมีการสนับสนุนปัจจัยในการพัฒนางาน R2R ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ และงบประมาณในการพัฒนางานวิจัย และนำผลงาน R2R มาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาการประเมินผลการปฏิบัติงานในแต่ละรอบ อยู่ในระดับมาก (
= 4.22,
S.D. = 1.75) ในด้านการเผยแพร่ผลงาน R2R นั้น บุคลากรมีความประสงค์นำเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ คิดเป็นร้อยละ 30 รองลงมาคือนำเสนอในที่ประชุมระดับนานาชาติ คิดเป็นร้อยละ 23.33 และไม่ประสงค์เผยแพร่ผลงานคิดเป็นร้อยละ 23.33
ผลการหาแนวทางส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R) ของบุคลากรสายสนับสนุน พบว่า ควรเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ จัดเวลาเพื่อเสวนาในกลุ่มพนักงานสายสนับสนุนเกี่ยวกับปัญหาวิจัย จัดพี่เลี้ยงให้คำแนะนำการทำวิจัยแบบ R2R สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการวิจัยและส่งบทความวิจัยนำเสนอที่ประชุมวิชาการหรือตีพิมพ์เผยแพร่ และนำผลงาน R2R ของบุคลากรมาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาการประเมินผลการปฏิบัติงานในแต่ละรอบ
คำสำคัญ: คณะครุศาสตร์, งานประจำสู่งานวิจัย, บุคลากรสายสนับสนุน, ความต้องการ
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง