สัมฤทธิ์ผลของการจัดการเรียนรูโดยการใชสื่อเสริมการเรียนรูผสานเทคโนโลยีเออาร์ เรื่องเครื่องแตงกายยืนเครื่องสำหรับตัวละครโขนพระ (พระราม)

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งNathapong Kathawut and Alisa Songsriwittaya

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2021

หน้าแรก386

หน้าสุดท้าย392

จำนวนหน้า7


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ (1) เพื่อพัฒนาสื่อเสริมการเรียนรู้ผสานเทคโนโลยีเออาร์ เรื่องเครื่องแต่งกาย
ยืนเครื่องสำหรับตัวละครโขนพระ (พระราม) (2) เพื่อประเมินคุณภาพสื่อเสริมการเรียนรู้ผสานเทคโนโลยีเออาร์ เรื่อง
เครื่องแต่งกายยืนเครื่องสำหรับตัวละครโขนพระ (พระราม) โดยผู้เชี่ยวชาญ (3) เพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อเสริม
การเรียนรู้ผสานเทคโนโลยีเออาร์ เรื่อง เครื่องแต่งกายยืนเครื่อง สำหรับตัวละครโขนพระ (พระราม) (4) เพื่อเปรียบเทียบ
ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ในสื่อเสริมการเรียนรู้ผสานเทคโนโลยีเออาร์ เรื่อง เครื่องแต่งกายยืนเครื่องสำหรับตัวละครโขนพระ
(พระราม) ทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน (5) เพื่อประเมินความพึงพอใจในสื่อเสริมการเรียนรู้ผสานเทคโนโลยีเออาร์ เรื่อง
เครื่องแต่งกายยืนเครื่องสำหรับตัวละครโขนพระ (พระราม) โดยกลุ่มตัวอย่างกลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกจากประชากรที่ได้
เลือกแผนการเรียนรายวิชา นาฏศิลป์ (เพิ่มเติม) จำนวน 30 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สื่อเสริมการเรียนรู้
ประกอบด้วย รูปภาพประกอบ วิดีโอ หนังสือเสริมการเรียนรู้และแอปพลิเคชันที่มีการนำเอาเทคโนโลยีเออาร์มาผสมผสาน
โดยมีผลประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ภาพรวมของสื่อเสริมการเรียนรู้มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (􀂚􀴤= 4.53,
S.D.=0.43) เมื่อพิจารณาเป็นด้านพบว่า หัวข้อการประเมินที่ได้คะแนนสูงสุด ได้แก่ ด้านเนื้อหา (􀂚􀴤= 4.65, S.D.= 0.32)
ประสิทธิภาพของสื่อเสริมการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ 90.67/84.12 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 เมื่อนำคะแนนสอบ
ก่อนเรียนและหลังเรียนมาวิเคราะห์ คะแนนก่อนเรียนเท่ากับ (􀂚􀴤 = 11.93) คิดเป็นร้อยละ 47.72 และคะแนนหลังเรียน
(􀂚􀴤= 21.03) คิดเป็นร้อยละ 84.12 เมื่อคำนวณค่า t พบว่า t คำนวณสูงกว่าค่า t ในตาราง แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีคะแนน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และผลการประเมินความพึงพอใจ
โดยกลุ่มตัวอย่างพบว่าภาพรวมของมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (􀂚􀴤= 4.74, S.D.= 0.43) เมื่อพิจารณาเป็นด้าน
พบว่า หัวข้อการประเมินที่ได้คะแนนสูงสุด ได้แก่ ด้านเนื้อหาและด้านสื่อปฏิสัมพันธ์ (􀂚􀴤= 4.76, S.D.= 0.42)


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-18-06 ถึง 00:00