การออกแบบเกมดิจิทัลร่วมกับทฤษฎีแบบจําลองอาร์ค(ARCS Model) เพื่อส่งเสริมสมาธิสําหรับเด็กสมาธิสั้น

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งอัครมณี ระวีแสงสูรย์, สุธิวัชร ศุภลักษณ์ และเสกสรรค์ แย้มพินิจ

ผู้เผยแพร่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

ชื่อย่อของวารสารJOE-MSU

Volume number18

Issue number2

หน้าแรก1

หน้าสุดท้าย20

จำนวนหน้า20

นอก3027-6268

eISSN3027-6268

URLhttps://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/3436/2700


บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบเกมดิจิทัลร่วมกับแบบจําลอง
อาร์ค ARCS (ความสนใจ ความเกี่ยวข้อง ความมั่นใจ และความพึงพอใจ) เพื่อส่งเสริมสมาธิในเด็กที่มี
ภาวะสมาธิสั้น (ADHD) ซึ่งเด็กสมาธิสั้นนั้นเป็นเด็กที่ไม่สามารถยับยั้งตนเอง อยู่ไม่นิ่ง และไม่จดจ่อ
กับกิจกรรมที่ทําได้ต่อเนื่อง วิธีการนึงที่ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้คือ การเล่นเกมที่มีปฏิสัมพันธ์ดังนั้น
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการออกแบบเกมดิจิทัลร่วมกับทฤษฎีแบบจําลองของอาร์ค เพื่อทําให้เกมนั้นมี
ประสิทธิภาพและเหมาะสมกับกลุ่มเด็กสมาธิสั้น ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการ
สัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้น นักเทคโนโลยีการศึกษา นักออกแบบและ
พัฒนาเกม รวมถึงเด็กสมาธิสั้น จํานวน 13 คน ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposive
Sampling) และใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics Analysis) ผลลัพธ์ที่
ได้คือ แนวทางการออกแบบเกมดิจิทัลร่วมกับแบบจําลองอาร์ค ซึ่งประกอบด้วยการเลือกเนื้อหา
รูปแบบเกม การกําหนดเนื้อเรื่อง ระยะเวลา การออกแบบกราฟิก ตัวอักษร โทนสี เสียงประกอบ
และการออกแบบหน้าจอปฏิสัมพันธ์กับผู้เล่น รวมถึงการใช้หลักการออกแบบการสอนโดยใช้กําหนด
ระดับจากง่ายไปยาก และการเสริมแรงอย่างเหมาะสม ผลลัพธ์การออกแบบตามหลักการดังกล่าวนั้น
จะช่วยให้เกมดิจิทัลนั้นมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการเรียนและส่งเสริมแรงจูงใจของผู้เรียน เป็น
แนวทางในการออกแบบสื่อการสอนเพื่อส่งเสริมสมาธิให้กับเด็กสมาธิสั้นต่อไป


คำสำคัญ

การออกแบบเกมดิจิทัลเด็กสมาธิสั้นทฤษฎีแบบจำลองของ อาร์ค ARCS


อัพเดทล่าสุด 2024-26-06 ถึง 00:00