การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ GPAS เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน เรื่อง วรรณยุกต์ไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งนางสาวพิชชาพร วรรณวัตน์. ดร.สุธิวัชร ศุภลักษณ์.ผศ.ดร.เพียงเพ็ญ จิรชัย

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

Volume number68

Issue number1

หน้าแรก143

หน้าสุดท้าย163

จำนวนหน้า21

นอก08570086

eISSN27304086

URLhttps://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/270986


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาและหาคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์ (2) ศึกษาความสามารถด้านการอ่าน เรื่อง วรรณยุกต์ไทย (3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนและ (4) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์ 

กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 33 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย
โดยวิธีการจับสลาก 1 ห้องเรียน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์  แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและสื่อ แบบประเมินความสามารถด้านการอ่าน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ
การทดสอบค่าที (t-test) 

ผลการวิจัย พบว่า (1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์ มีคุณภาพด้านเนื้อหา ในระดับดีมาก และด้านสื่อ ในระดับดี (2) กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถด้านการอ่านในระดับ มาก  (3) ผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนของกลุ่มตัวอย่าง มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) ผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในระดับมาก


คำสำคัญ

การจัดการเรียนรู้แบบ GPASวรรณยุกต์ไทยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์


อัพเดทล่าสุด 2024-26-06 ถึง 00:00