การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการทำแฟ้มสะสมผลงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: พรปภัสสร ปริญชาญกล, กุลธิดา ธรรมวิภัชน์, กิติญาณี ศรีรักษา, สุจิตรา อินทรศร และ กมลชนก เดียงสระน้อย.
ผู้เผยแพร่: สำนักงานวรสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
ชื่อย่อของวารสาร: iveb
Volume number: 7
Issue number: 1
หน้าแรก: 146
หน้าสุดท้าย: 162
จำนวนหน้า: 17
นอก: 2586-9884
eISSN: 2730-2636
URL: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal/article/view/269958/183784
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการทำแฟ้มสะสมผลงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อประเมินคุณภาพของสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการทำแฟ้มสะสมผลงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3) เพื่อประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการทำแฟ้มสะสมผลงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการทำแฟ้มสะสมผลงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สื่อโมชันกราฟิกที่พัฒนาขึ้น 2) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอ 3) แบบประเมินการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง 4) แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนแจงร้อนวิทยาที่เข้าร่วมกิจกรรม ECT ROADSHOW ดำเนินการโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่เคยรับชมสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการทำแฟ้มสะสมผลงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และยินดีตอบแบบสอบถาม จำนวน 40 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการพัฒนาได้สื่อโมชันกราฟิกความยาว 6.47 นาที เรื่อง การทำแฟ้มสะสมผลงาน ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี (= 4.33, S.D. = 0.58) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนออยู่ในระดับดี (
= 4.22, S.D. = 0.54) ผลการประเมินด้านการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก (
= 4.43, S.D. = 0.78) และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก (
= 4.34, S.D. = 0.71) ดังนั้น การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการทำแฟ้มสะสมผลงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้จริง
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง