การศึกษาการทรุดตัวของขยะในพื้นที่ฝังกลบในประเทศไทยโดยใช้เทคโลยีภาพถ่ายทางอากาศ
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: พรหมพล ท้าวแผนบุญ, วัชรธร หมู่ทองคำ, ศิระวิทย์ วิศวะโยธานันท์ และ ธีระ ลาภิศชยางกูล
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
หน้าแรก: 1
หน้าสุดท้าย: 7
จำนวนหน้า: 7
URL: https://conference.thaince.org/index.php/ncce29
บทคัดย่อ
เนื่องจากปัญหาขยะที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศไทย และบ่อขยะ ฝังกลบไม่สามารถรองรับต่อปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้น จึงมีการนำเทคโนโลยี อากาศยานไร้คนขับมาประยุกต์ใช้ในการสำรวจและติดตามพฤติกรรมการ ทรุดตัวของขยะ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้ ศึกษาการทรุดตัวของขยะในพื้นที่ฝังกลบในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของขยะในพื้นที่ฝังกลบเทียบกับ ปริมาตรของขยะที่นำเข้ามาเทกอง และศึกษารูปแบบการทรุดตัวของขยะ ในพื้นที่ฝังกลบ จากผลการเก็บข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศและพิกัด ภาคพื้นดินด้วยอากาศยานไร้คนขับและการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ จากนั้นประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรม agisoft metashape โดยมี จำนวนชุดข้อมูล 2 ชุดในการเปรียบเทียบโดยมีระยะเวลาการทดสอบห่าง กัน 30-45 วัน พบว่าความถูกต้องของแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศของข้อมูล โดยใช้ RMSE เปรียบเทียบความถูกต้องตามมาตรฐาน ASPRS โดยข้อมูล ชุดที่ 1 มีความถูกต้องในแนวราบอยู่ในเกณฑ์ Visualization and less accuracy work ซึ่งมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 3 pixel และข้อมูลชุดที่ 2 อยู่ ในเกณฑ์ Standard mapping and GIS work ซึ่งมีค่าเท่ากับ 2 pixels และ Highest accuracy work ซึ่งมีน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 pixels โดยจาก การสำรวจข้อมูลของชุดที่ 1 มีปริมาตรโดยเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4,510,000 m3 และข้อมูลชุดที่ 2 มีปริมาตรโดยเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 3,884,000 m3 ซึ่งแนวโน้ม ของปริมาตรของขยะไปในแนวทางที่ลดลงโดยแนวโน้มที่ลดลงแสดงถึง ปริมาณขยะที่สามารถกำจัดได้ในระยะเวลาที่กำหนด
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง