การศึกษารูปแบบการบินถ่ายภาพที่เหมาะสมเพื่อประเมินปริมาตรขยะในบ่อฝังกลบโดยใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายทางอากาศ
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: วรรณภรณ์ ศรีแก้วเที่ยง, สุชานันท์ ทัดแก้ว, ตะวันฉาย เจริญทั่ว และ ธีระ ลาภิศชยางกูล
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
หน้าแรก: 1
หน้าสุดท้าย: 5
จำนวนหน้า: 5
URL: https://conference.thaince.org/index.php/ncce29
บทคัดย่อ
การสำรวจพื้นที่บ่อฝังกลบขยะแพรกษา เพื่อทำแผนที่ประเมินปริมาตร ในบ่อขยะ ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ ที่มีลักษะเป็นเนินสูง จึงได้นำ เทคโนโลยีภาพถ่ายทางอากาศมาประยุกต์ใช้ในงานสำรวจ งานวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นศึกษารูปแบบการถ่ายภาพถ่ายทางอากาศที่ เหมาะสม โดยใช้อากาศยานไร้คนขับ(โดรน) ในการถ่ายภาพทางอากาศ และมีการรังวัดแบบจลน์(RTK) ทำการรังวัดตำแหน่งจุดควบคุมภาคพื้นดิน และจุดตรวจสอบ มีจำนวน 9 และ 14 จุด ตามลำดับ กำหนดรูปแบบการ บิน 2 รูปแบบคือ มุมกล้อง 45 องศา ทำการบินแบบ double grid และ 90 องศา ทำการบินแบบ grid จากนั้นนำข้อมูลภาพถ่ายมาประมวลผลด้วย โปรแกรม Agisoft Metashape ผลการศึกษาพบว่าแผนที่ที่ได้จากมุมกล้อง 45 องศามีค่าความถูกต้องสูงกว่า จากมุมกล้อง 90 องศา แสดงให้เห็นถึง ความแม่นยำที่ต่างกันอย่างมีนัยะสำคัญตามรูปแบบ grid และ double grid ด้วย ซึ่งรูปแบบ double grid ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ซึ่งมีขนาด pixel size เท่ากับ 5.85 และ 16.6 cm./pix สำหรับมุมกล้อง 90 และ 45 องศา ตามลำดับ เมื่อเทียบตามมาตรฐาน ASPRS 2014[11] พบว่าแผนที่ที่ได้จาก มุมกล้อง 45 องศานั้น เหมาะสำหรับการใช้ในงานแผนที่มาตรฐานและงาน GIS
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง