การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์โดยใช้ผู้นำเสนอแบบนาโนอินฟลูเอนเซอร์ร่วมกับกิจกรรมการสื่อสารบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เรื่องการเป็นผู้ประกอบการอาหารฮาลาลสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งชนัญญา ลายสาคร, พรปภัสสร ปริญชาญกล, กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ และ ไพฑูรย์ กานต์ธัญลักษณ์

ผู้เผยแพร่คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

ชื่อย่อของวารสารJLIT

Volume number4

Issue number1

หน้าแรก41

หน้าสุดท้าย54

จำนวนหน้า14

นอก2773-9740

eISSN2773-9759

URLhttps://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/272413/184142

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความต้องการในการพัฒนาสื่อวีดิทัศน์โดยใช้ผู้นำเสนอแบบนาโนอินฟลูเอนเซอร์ร่วมกับกิจกรรมการสื่อสารบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เรื่องการเป็นผู้ประกอบการอาหารฮาลาลสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี 2)เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพสื่อวีดิทัศน์ 3) เพื่อประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์ และ 4)เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์โดยใช้ผู้นำเสนอแบบนาโนอินฟลูเอนเซอร์ร่วมกับกิจกรรมการสื่อสารบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เรื่องการเป็นผู้ประกอบการอาหารฮาลาลสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบสำรวจความต้องการ แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอ แบบประเมินผลการรับรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ดำเนินการโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน จากผู้ที่เรียนในรายวิชา ETM 314 การสร้างเสริมประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชนในภาคการศึกษาที่ 2/2566  และยินดีตอบแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test  ผลการศึกษาพบว่า ผลสำรวจความต้องการของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ร่วมกับกิจกรรมการสื่อสาร อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.58, S.D.=0.51) ผู้วิจัยจึงดำเนินการพัฒนาสื่อวีดิทัศน์โดยใช้ผู้นำเสนอแบบนาโนอินฟลูเอนเซอร์ร่วมกับกิจกรรมการสื่อสาร ผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (=4.86, S.D.=0.20) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนออยู่ในระดับดี (= 4.22, S.D.=0.62) ผลการประเมินการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างหลังชมสื่อและกิจกรรมสูงกว่าก่อนชมสื่อและกิจรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t-test=-8.24) และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด ( 4.70, S.D.=0.45)  



คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-04-07 ถึง 12:00