การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ทักษะดิจิทัลโดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน สำหรับบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: ปาณิศา เลิศทหาร, จารุพักตร์ เทพแก้ว และ เอกวัฒน์ นิธิไชโย
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
ชื่อชุด: Innovation Enhanced Learning for Sustainable Development Society
หน้าแรก: 332
หน้าสุดท้าย: 338
จำนวนหน้า: 7
URL: https://nclist.fiet.kmutt.ac.th/nclist2024/
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันการพัฒนาสมรรถนะเฉพาะบุคคลให้มีความสามารถทางทักษะดิจิทัล มีความสำคัญทั้งในภาคการศึกษาและ
ภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะภายใต้สภาพ “ความปกติใหม่” ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ที่ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนในการใช้ชีวิตประจำวันและการขับเคลื่อนทางเทคโนโลยี งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะดิจิทัลและทักษะเชิงชีวิตที่สำคัญ และความพึงพอใจของผู้เรียนต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวโดยมีเป้าหมายหลักเพื่อเพิ่มทักษะความสามารถด้านการใช้ข้อมูล ซึ่งจะทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจได้ โดยพัฒนาหน่วยการเรียนรู้จำนวน 2 หน่วย คือ (1) การเห็นคุณค่าในการใช้ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัลและตระหนักถึงมุมมองการใช้ข้อมูลด้วยวิธีการของตนเอง และ
(2) การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์เพื่อประกอบการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานตามโมเดล 10:20:70 คือ (1) การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์, (2) การเรียนในห้องเรียนเสมือนจริง และ (3)
การทำโครงงาน โดยมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง จากนั้นนำไปทดลองกับบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และ อุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น จำนวน 23 คน ใช้ระยะเวลารวม 3 เดือน ทำการวัดผลจากการประเมินตนเอง การทำแบบทดสอบก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ และการสังเกตของอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ ผลการศึกษาสามารถ
สรุปได้ว่า หลังเข้ารับการอบรม ผู้เรียนมีสมรรถนะทั้ง 2 หน่วยการเรียนรู้เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับดีมาก สูงกว่าก่อนอบรมอย่างมี
นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้ในระดับมาก โดยระบุว่าเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ดี มีการสรุปและอัพโหลดคลิปการเรียนให้ผู้เรียนได้ทบทวนบทเรียนอย่างต่อเนื่อง สามารถเรียนได้ทุกที่ และได้ประยุกต์ใช้ความรู้กับโครงงานจากโจทย์จริงของผู้เรียนโดยมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญและพี่เลี้ยงคอยติดตามและให้คำปรึกษาตลอดช่วงการทำโครงงาน ซึ่งเป็นส่วนช่วยสาคัญที่ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ และเกิดความสาเร็จของโครงงาน
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง