ผลของการรม 1-MCP เพื่อรักษาคุณภาพของกล้วยน้ำว้าแบบแบ่งเป็นหวีย่อยสำหรับตลาดค้าปลีก

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งYuni Kartika, ทันวลี ศรีนนท์, ณัฐชัย พงษ์ประเสริฐ, ผ่องเพ็ญ จิตอารีย์รัตน์

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2023

ชื่อชุดAgric.Sci. Innov. J.

เลขในชุด55

Volume number55

Issue number1 (พิเศษ)

หน้าแรก109

หน้าสุดท้าย112

จำนวนหน้า4

URLhttps://www.phtnet.org/download/phtic-seminar/2067.pdf


บทคัดย่อ

การศึกษาผลของการรม 1-Methylcyclopropene (1-MCP) เพื่อรักษาคุณภาพของกล้วยน้ำว้าแบบแบ่งเป็นหวีย่อยสำหรับตลาดค้าปลีก ทำโดยตัดกล้วยน้ำว้าเป็นหวีย่อย หวีละ 3-4 ผล และรมด้วย 1-MCP ที่ความเข้มข้น 0 (ชุดควบคุม), 250 และ 500 ppb ที่ 20 องศาเซลเซียส นาน 6 ชั่วโมง และนำไปเก็บที่ 25 องศาเซลเซียส ตรวจวิเคราะห์อัตราการหายใจ การผลิตเอทิลีน และคุณภาพของกล้วย ทุกๆ 3 วัน นาน 9 วัน ผลการทดลองพบว่า การรม 1-MCP ความเข้มข้น 250 และ 500 ppb มีผลชะลอการสร้างเอทิลีน กล้วยที่ไม่ได้รม (ชุดควบคุม) ปรากฏ climacteric peak ในวันที่ 6 และอัตราการหายใจสูงสุดในวันที่ 3 ในขณะที่กล้วยที่รม 1-MCP ยังไม่ปรากฏ climacteric peak ในระหว่างเก็บรักษา 9 วัน เป็นผลทำให้กล้วยที่รม 1-MCP เข้าสู่กระบวนการสุกและการชราภาพช้าเมื่อเทียบกับกล้วยชุดควบคุม การรม 1-MCP มีผลชะลอการเพิ่มขึ้นของปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ ปริมาณกรดที่ไตเตรตได้ ปริมาณน้ำตาลทั้งหมด และช่วยรักษาความแน่นเนื้อของกล้วยได้ดี ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า 1-MCP ที่ 250 และ 500 ppb มีศักยภาพในการรักษาคุณภาพกล้วยน้ำว้าแบบแบ่งเป็นหวีย่อย ทำให้สามารถวางจำหน่ายในตลาดค้าปลีกได้นานขึ้น


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-14-08 ถึง 00:00