การใช้เทคโนโลยีพลาสมาเสมือนร่วมกับโซเดียมคาร์บอเนตเพื่อควบคุมโรคขั้วหวีเน่าของกล้วยหอมทอง
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Zashika Meidita Eka Putri, กัลยา ศรีพงษ์, อภิรดี อุทัยรัตนกิจ, ณัฐชัย พงษ์ประเสริฐ์, ผ่องเพ็ญ จิตอารีย์รัตน์
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
ชื่อชุด: Agric.Sci. Innov. J.
เลขในชุด: 55
Volume number: 1
หน้าแรก: 35
หน้าสุดท้าย: 38
จำนวนหน้า: 4
URL: https://www.phtnet.org/download/phtic-seminar/2049.pdf
บทคัดย่อ
การศึกษาเทคโนโลยีพลาสมาเสมือนร่วมกับสารกันอาหารเน่าเสียเพื่อควบคุมโรคขั้วหวีเน่าของกล้วยหอมทองที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Lasiodiplodia theobromae แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ศึกษาผลของสารกันอาหารเน่าเสียต่อการเจริญของเชื้อราในอาหาร PDA ที่ผสมโซเดียมคาร์บอเนต (SC) และโพแทสเซียมซอร์เบต (PS) ความเข้มข้น 0 (ชุดควบคุม) 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0% (W/V) พบว่า SC ความเข้มข้นตั้งแต่ 1.0 % (W/V) สามารถยับยั้งเส้นใยเชื้อราได้สมบูรณ์ ส่วนที่ 2 การศึกษาผลของการใช้น้ำพลาสมาเสมือน (EPAW) ที่ระยะเวลา 0 (ชุดควบคุม) 20 40 และ 60 นาที ต่อความรุนแรงของการเกิดโรคขั้วหวีเน่าของกล้วยหอมทอง พบว่า หลังการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องนาน 6 วัน การแช่กล้วยใน EPAW ทุกระยะเวลาที่ทดสอบสามารถลดความรุนแรงของโรคได้เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม ดังนั้น EPAW ที่เวลา 20 นาที จึงถูกเลือกมาใช้ร่วมกับ 1.0% SC เพื่อผลิตเป็นสารละลายพลาสมาเสมือนโซเดียมคาร์บอเนต (EPAS - 1% SC) การทดสอบส่วนที่ 3 ผลการทดลองพบว่า EPAS - 1% SC สามารถลดความรุนแรงของโรค (2.67 คะแนน) ได้เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม (3.83 คะแนน) และให้ผลดีใกล้เคียงกับการใช้สารกำจัดเชื้อรา (2.3 คะแนน) การทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้ EPAS - 1% SC มีศักยภาพในการควบคุมโรคขั้วหวีเน่าของกล้วยหอมทอง
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง