ผลกระทบทางสังคม: เสียงสะท้อนจากคนในชุมชนโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลพื้นที่ชายฝั่งหาดมหาราช อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งIttisak Jirapornvaree, Watcharapong Hanumas

ผู้เผยแพร่HRDI Co., Ltd.,

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

Volume number4

Issue number2

หน้าแรก22

หน้าสุดท้าย35

จำนวนหน้า14

นอก3027-6985

URLhttps://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/1449/1152

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) ต่อสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทยไม่เพียงแต่จำเป็นต้องหาแนวทางการป้องกันในทางวิศวกรรมศาสตร์แบบโครงสร้างแข็ง หรือโครงสร้างอ่อน รูปแบบการสร้างระบบนิเวศภายใต้แนวทางพื้นฐานทางธรรมชาติที่เหมาะสมแต่ต้องเผชิญกับความท้าทายจากแรงคัดค้านของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่อาศัยในพื้นที่ ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบทางสังคมในระดับชุมชน โดยการวิจัยการเปลี่ยนแปลงทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการดำรงชีวิต (Live) ด้านการประกอบอาชีพ (Work) และด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Play) ของโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันริมตลิ่งริมทะเลพื้นที่ชายฝั่งมหาราช อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โดยเป็นงานวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Method Research) เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจำนวน 76 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเชิงบวกส่วนใหญ่เกิดในด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยเอื้อให้เกิดการใช้ประโยชน์ในด้านการท่องเที่ยว และการนันทนาการ ในทางกลับกันการเปลี่ยนทางสังคมเชิงลบส่วนใหญ่เกิดในด้านการดำรงชีวิต และด้านการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอาชีพประมงในพื้นที่ ที่มีวิถีชีวิตและใช้ประโยชน์ตลิ่งริมทะเลในการประกอบอาชีพ
ข้อค้นพบในครั้งนี้ได้สนับสนุนในการนำเสนอทางเลือกในการจัดการปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทยแบบผสมผสานโดยคำนึงถึงเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเลี้ยวเบนของคลื่น ร่วมกันกับการทำกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของคนในพื้นที่อันทำให้เกิดความรับผิดชอบร่วมกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย


คำสำคัญ

Coastal erosionEnd Effect AreaSeawallSocial and Environmental Impact Assessment


อัพเดทล่าสุด 2024-21-10 ถึง 12:00