กระบวนการพัฒนาและจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะชีวิตอย่างมีส่วนร่วมส าหรับนักเรียน
ประถมศึกษาตอนต้นในเขตทุ่งครุ – เขตบางขุนเทียน

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งSirikoy Chutataweesawas, Kanchanee Phutimatee, Surat Pecthnin, Sumate Tanchareon, Wilaiwam Prathumwong, Ladawan Srikhao, Phonthip Limpichaisopol, Wanmai Niyom, Chidchaya Dechalearmwong, Kittichai Chandang, Pitakpong Pongkrapun and Pimpakan Mepaitoom

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2025

วารสารวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (1905-9647)

Volume number19

Issue number2

นอก1905-9647


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ระบุความต้องการทักษะชีวิตของนักเรียนระดับประถมศึกษา และพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ฐานชุมชนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตอย่างมีส่วนร่วม ในเขตทุ่งครุ- บางขุนเทียน 2) เพื่อประเมินผลและสรุปการจัดกิจกรรมร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการเรียนรู้้ โดย มีกรอบแนวคิดในการพัฒนากิจกรรมจากหลักการ 4 H และการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ระยะที่ 1 ครู จ านวน 24 คน และ ผู้ปกครอง จ านวน 25 คน รวมทั้งสิ้น 49 คน ระยะที่ 2 ประกอบด้วย ผู้ประกอบการพื้นที่เรียนรู้ 4 คน ผู้ปกครอง 26 คน และนักเรียน 26 คน รวมทั้งสิ้น 56 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากรูปแบบการศึกษา 4 ประเภท ได้แก่ โรงเรียน รัฐบาล เอกชน ทางเลือก และบ้านเรียน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ Journal of Graduate Studies Valaya Alongkron Rajabhat University Vol. No. (Year) 2 แผนการจัดกิจกรรม แบบประเมินทักษะการเรียนรู้ แบบสังเกตการณ์ระหว่างกิจกรรม แบบบันทึกการสนทนากลุ่มของนักเรียน แบ่งการวิจัยเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ทบทวน วรรณกรรม ศึกษาพื้นที่การเรียนรู้ และการสัมภาษณ์ ระยะที่ 2 พัฒนาแผนกิจกรรมการเรียนรู้ ระยะที่ 3 จัดเวทีชุมชนร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมการเรียนรู้จากการ ใช้ทรัพยากรชุมชนสามารถช่วยสร้างเสริมทักษะชีวิตที่ต้องการผ่านประสบการณ์การเรียนรู้นอก ห้องเรียนได้ ข้อเสนอแนะ การพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง และผู้ประกอบการพื้นที่การเรียนรู้ ควรสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ประกอบการพื้นที่การ เรียนรู้กับโรงเรียนในพื้นที่ เพื่อออกแบบ กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนร่วมกัน พัฒนาเครือข่ายและศักยภาพผู้ประกอบการ พื้นที่การเรียนรู้ภายในชุมชน และควรมีตารางการจัด กิจกรรมการเรียนรู้อย่างสม่่าเสมอและต่อเนื่องเพื่อให้เกิดระบบการบริหารจัดการและเกิด ประสิทธิผลในการจัดการเรียนรู้ให้มีความยั่งยืน


คำสำคัญ

การออกแบบอย่างมีส่วนร่วมทักษะชีวิตนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น


อัพเดทล่าสุด 2024-21-10 ถึง 12:00