การพัฒนากระบวนการเรียนรู้จากฐานทรัพยากรชุมชนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: ปณัตดา ยอดแสง, สมพงษ์ เผือกเอี่ยม
ผู้เผยแพร่: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
ชื่อย่อของวารสาร: JLIT
Volume number: 4
Issue number: 1
หน้าแรก: 55
หน้าสุดท้าย: 63
จำนวนหน้า: 9
นอก: ISSN 2773-9740 (Print)
eISSN: ISSN 2773-9759 (Online)
URL: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/272818
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ในด้านกระบวนการคิดและการสื่อสารของ
เยาวชนชายขอบในพื้นที่จังหวัดราชบุรี โดยผู้วิจัยได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 2 - 6 จำนวน 60 คน ของโรงเรียนในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี โดยนำหลักการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ เส้นโค้งการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ทักษะการเรียนรู้และการใช้พหุประสาทสัมผัส มาเป็นแกนหลักในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ร่วมกับขั้นตอนในการถ่ายทอดสู่เยาวชน 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 สร้างเยาวชนให้มีความสามารถในการเรียนรู้และมีพื้นที่ปลอดภัยโดยการพี่เลี้ยงเป็นต้นแบบ ขั้นที่ 2 พัฒนาความรู้และทักษะการคิดพื้นฐาน การจดบันทึก การฟัง และการตั้งคำถาม และขั้นที่ 3 ใช้ความรู้และทักษะในบริบทจริงและถ่ายทอดให้กับผู้อื่น และใช้ทรัพยากรที่มีในโรงเรียนหรือในชุมชนมาเป็นสื่อในการเรียนการสอน ออกแบบให้กิจกรรมมีความต่อเนื่อง และมีระบบนิเวศการเรียนรู้ที่เหมาะสม ประเมินผลการออกแบบและผลลัพธ์การเรียนรู้ ด้วยการท าสนทนากลุ่ม การสังเกต และการจดบันทึก กับครูและเยาวชน พบว่าการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ด้วยวิธีการข้างต้น ช่วยให้เยาวชนมีความรู้และประสบการณ์การเรียนในรูปแบบใหม่ ส่งผลให้เกิดความใส่ใจและเห็นประโยชน์ของการเรียนมากขึ้น ท าให้เกิดการพัฒนาทักษะด้านการคิด ด้านการเรียนรู้และการใช้ชีวิต มากขึ้น การสื่อสาร ตลอดจนสามารถทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงตัวเองจากภายในได้อย่างแท้จริง
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง