การพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงออกแบบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบฉากสตูดิโอเสมือนจริง สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: ยุภาวดี ดีกลาง, สรัญญา เชื้อทอง, ไพฑูรย์ กานต์ธัญลักษณ์
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
หน้าแรก: 66
หน้าสุดท้าย: 77
จำนวนหน้า: 12
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 2) เพื่อ
ประเมินความสามารถทางการเรียนจากสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจาก
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการเรียนจากสภาพแวดล้อม
การเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 สาขาเทคโนโลยีการเรียนรู้และ
สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ที่เรียนในรายวิชา
การผลิตรายการโทรทัศน์เฉพาะกลุ่ม (ETM352) จำนวน 30 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือ
ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการออกแบบฉากสตูดิโอเสมือนจริง สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี 2) แบบประเมินคุณภาพของ
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบฉากสตูดิโอ
เสมือนจริง สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี 3) แบบวัดความสามารถของการพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้โดย
ใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบฉากสตูดิโอเสมือนจริง สำหรับนักศึกษา
ปริญญาตรี 4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิง
ออกแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบฉากสตูดิโอเสมือนจริง สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี 5) แบบ
ประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสภาพแวดล้อมการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการออกแบบฉากสตูดิโอเสมือนจริง สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ผลการ
ประเมินด้านคุณภาพเนื้อหาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.87, S.D. = 0.35) ผลการประเมิน
67
คุณภาพด้านสื่อโดยภาพรวมอยู่ในมากที่สุด (x̅ = 4.82, S.D. = 0.39) ผลการวัดความสามารถทางการเรียน
ของกลุ่มตัวอย่างโดยภาพรวมอยู่ในอยู่ในระดับดี (x̅ = 27.23, S.D. = 1.28) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่ม
ตัวอย่างมีคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผล
ประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.48, S.D. = 0.67) โดยสถิติที่ใช้ใน
การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test)
คำสำคัญ : สภาพแวดล้อมการเรียนรู้, การคิดเชิงออกแบบ, ความสามารถในการออกแบบฉากสตูดิโอเสมือนจริง
คำสำคัญ
design thinking, สภาพแวดล้อมการเรียนรู้