การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงออกแบบบนห้องเรียนจักรวาลนฤมิต ที่ส่งผลต่อการสร้างนวัตกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: ภาริณี รัตนภักดิ์, สุรพล บุญลือ, สรัญญา เชื้อทอง
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
หน้าแรก: 140
หน้าสุดท้าย: 154
จำนวนหน้า: 15
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและประเมินรูปแบบการเรียนรู้เชิงออกแบบบนห้องเรียน จักรวาลนฤมิตที่ส่งผลต่อนวัตกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
ธนบุรี2) ประเมินคุณภาพสื่อการสอนสําหรับการพัฒนาการเรียนรู้เชิงการออกแบบบนห้องเรียนจักรวาลนฤมิต
ที่ส่งผลต่อการสร้างนวัตกรรมของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 3) วัด ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมบนห้องเรียนจักรวาลนฤมิตของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 4) วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในห้องเรียนเสมือนจริงแบบจักรวาลนฤมิตที่ส่งผล ต่อความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้เชิงการออกแบบบนห้องเรียนจักรวาลนฤมิตที่ส่งผลต่อการ สร้างนวัตกรรมของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยมีองค์ประกอบคือ 1) จุดประสงค์การเรียนรู้ (Learning objectives) 2) ผู้สอน (Instructor) 3) ผู้เรียน (Learner) 4) เนื้อหา (Contents) 5) การประเมินผลการเรียนรู้ (Evaluation) 6) สื่อการเรียนรู้ (Learning Media) และมีขั้นตอน
ทั้งหมด 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การทําความเข้าใจผู้เรียน (Empathies) 2) กําหนดปัญหา (Define) 3) ระดม ความคิด (Ideate) 4) สร้างนวัตกรรม (Prototype) 5) ทดสอบ (Test) ผลการประเมินความเหมาะสมของ รูปแบบการพัฒนาความสามารถในสร้างนวัตกรรมบนห้องเรียนจักรวาลนฤมิตของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านองค์ประกอบของรูปแบบการเรียน การสอน 2) ด้านขั้นตอนการพัฒนาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ 3) ด้านการใช้งานของ รูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้เชิงออกแบบบนห้องเรียนจักรวาลนฤมิต โดยในภาพรวมผลการประเมินอยู่ใน
ระดับมากที่สุด 2) ผลการประเมินคุณภาพสื่อการสอนสําหรับการพัฒนาการเรียนรู้เชิงการออกแบบบน
ห้องเรียนจักรวาลนฤมิตที่ส่งผลต่อการสร้างนวัตกรรมของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าธนบุรี ในด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านการนําเสนออยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการวัด ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมบนห้องเรียนจักรวาลนฤมิตของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีอยู่ในระดับดี 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในห้องเรียนเสมือนจริงแบบจักรวาล นฤมิตที่ส่งผลต่อความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้าธนบุรีสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คําสําคัญ: รูปแบบการพัฒนา, เรียนรู้เชิงการออกแบบ, ห้องเรียนจักรวาลนฤมิต, ความสามารถ, สร้าง นวัตกรรม
คำสำคัญ
ห้องเรียนจักรวาลนฤมิต