การเปรียบเทียบต้นทุน ระยะเวลา และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากความล่าช้าในการก่อสร้างระหว่างรอยต่อแบบเปียกและรอยต่อแบบแห้งในระบบโครงสร้างเสาและคานสำเร็จรูป

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งอภิสิทธิ์ งามเสน่ห์, ธงชัย โพธิ์ทอง, กฤษฎา อนันตกาลต์, สุรัติ เส็มหมัด

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

หน้าแรก198

หน้าสุดท้าย211

จำนวนหน้า14


บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนรอยต่อแต่ละรูปแบบ และระยะเวลาที่ใช้ในการก่อสร้างระหว่างรอยต่อแบบเปียกและรอยต่อแบบแห้ง, เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของราคาต่อพื้นที่อาคารที่เพิ่มขึ้น, เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดจากความล่าช้าในการก่อสร้าง อาคารกรณีศึกษาเป็นโครงการบ้านเดี่ยวพักอาศัย 2 ชั้น จาก 2 โครงการ โดยศึกษาการก่อสร้างด้วยรอยต่อแบบเปียกจากอาคารที่มีพื้นที่ใช้สอย 650 ตารางเมตร และ 720 ตารางเมตร ศึกษาการก่อสร้างด้วยรอยต่อแบบแห้งจากอาคารที่มีพื้นที่ใช้สอย 235 ตารางเมตร และ 320 ตารางเมตร อาคารแต่ละแบบจะเก็บข้อมูลตัวอย่างจานวน 3 หลัง โดยใช้วิธีสังเกตการณ์ ถ่ายภาพ สัมภาษณ์และจดบันทึกลงแบบฟอร์มที่ผู้วิจัยได้จัดทาขึ้น ผลการศึกษาพบว่า รอยต่อแบบเปียกมีราคาต้นทุนที่เพิ่มขึ้นและลดลงจากรอยต่อแบบแห้งดังนี้ รอยต่อ 1 ด้าน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.49, รอยต่อ 2 ด้านเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.06, รอยต่อ 3 ด้านลดลงร้อยละ 20.92, รอยต่อ 4 ด้านลดลงร้อยละ 39.10 เมื่อเปรียบเทียบปริมาณพื้นที่ใช้สอยที่ทาได้ใน 1 วัน การก่อสร้างด้วยรอยต่อแบบเปียกลดลงจากการก่อสร้างด้วยรอยต่อแบบแห้งร้อยละ 23.96 – 30.62 ราคาค่าก่อสร้างรวมของการก่อสร้างทั้งสองรูปแบบจะลดลงตามการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ใช้สอย การก่อสร้างด้วยรอยต่อแบบเปียกมีพื้นที่ใช้สอยต่างกัน 70 ตารางเมตร มีผลต่างราคาลดลงที่ร้อยละ 5.30, การก่อสร้างด้วยรอยต่อแบบแห้งมีพื้นที่ใช้สอยต่างกัน 85 ตารางเมตร มีผลต่างราคาลดลงที่ร้อยละ 1.70 ความล่าช้าในการก่อสร้างส่งผลกระทบต่อค่าแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.02 - 2.63, ค่าเครื่องจักรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.63 – 4.56


คำสาคัญ: ระบบโครงสร้างเสาคานสาเร็จรูป รอยต่อแบบเปียก รอยต่อแบบแห้ง



คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-25-12 ถึง 12:00