การพััฒนาวิดีโอคอนเทนต์เพั่อการประชาสัมพัันธี์เรื่องการบรจัาคัร่างกายแก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยโดย่ใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง แบบ Simon Sinek’s Golden Circle

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งพรปภัสสร ปริญชาญกล, กุลธิดา ธรรมวิภัชน์, กิติญาณี ศรีรักษา, ภัคคนัมพร เพริดพริ้ง, สุจิตรา อินทรศร

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

Volume number7

Issue number2

หน้าแรก17

หน้าสุดท้าย34

จำนวนหน้า18

URLhttps://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal/article/view/275276/186354

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์เรื่องการบริจาคร่างกายแก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Simon Sinek’s Golden Circle 2) เพื่อประเมินคุณภาพวิดีโอคอนเทนต์ที่พัฒนา 3) เพื่อประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อวิดีโอคอนเทนต์ที่พัฒนา 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อวิดีโอคอนเทนต์ที่พัฒนา สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) วิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์เรื่องการบริจาคร่างกายแก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Simon Sinek’s Golden Circle 2) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอ 3) แบบประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง 4) แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ดำเนินการโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับสลากจากรายชื่อนักศึกษาผู้ที่เคยรับชมวิดีโอคอนเทนต์และยินดีตอบแบบสอบถาม จำนวน 50 คน ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้ได้พัฒนาวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์เรื่องการบริจาคร่างกายแก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Simon Sinek’s Golden Circle จำนวน 1 เรื่อง ความยาว 4.50 นาที  ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (  = 4.58, S.D. = 0.50) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนออยู่ในระดับดี (  = 4.25, S.D. = 0.65) ผลการประเมินด้านการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.81, S.D. = 0.41) และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.64, S.D. = 0.52) ดังนั้น วิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์เรื่องการบริจาคร่างกายแก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Simon Sinek’s Golden Circle ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้จริง


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-03-01 ถึง 00:00