การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับสื่อแอปพลิเคชัน เรื่อง ระบบนิเวศ วิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: อภิลักษณ์ คำสถิตย์, เพียงเพ็ญ จิรชัย และ เสกสรรค์ แย้มพินิจ
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
ชื่อย่อของวารสาร: -
Volume number: 8
Issue number: 2
หน้าแรก: 27
หน้าสุดท้าย: 39
จำนวนหน้า: 13
นอก: ISSN 2672-9822 (Online)
URL: http://www.edtechjournal.ru.ac.th/journals/viewPage/18
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับสื่อแอปพลิเคชันเรื่อง ระบบนิเวศ วิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับสื่อแอปพลิเคชัน เรื่อง ระบบนิเวศ วิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับสื่อ
แอปพลิเคชัน เรื่อง ระบบนิเวศ วิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับสื่อแอปพลิเคชัน เรื่อง ระบบนิเวศ วิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนาหลวง สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร จำนวน 43 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) ด้วยวิธีการจับสลากมา 1 ห้องเรียน จาก 8 ห้องเรียน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที t-test(dependent sample)ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับสื่อแอปพลิเคชัน เรื่อง ระบบนิเวศ วิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคุณภาพด้านเนื้อหาในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 และมีคุณภาพด้านการออกแบบในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 2) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้เท่ากับ 83.95/84.88
3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางเรียนหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง