ผลของสารเมลาโทนินต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและเคมีของกล้วยหอมทองระหว่างการเก็บรักษา
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Yada Sagornwimon, Varit Srilaong, Amnat Jarerat, Suriyan Supapvanich and Panida Boonyaritthongchai.
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
บทคัดย่อ
สารเมลาโทนิน (MT) มีความสามารถในการก าจัดอนุมูลอิสระ ชะลอการเสื่อมสภาพของผลไม้ งานวิจัยนี้จึงศึกษาผลของ การใช้สาร MT ในการชะลอการสุกและการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและเคมีของกล้วยหอมทองภายหลังการเก็บเกี่ยว โดยน าผล กล้วยที่ผ่านการล้างโดยสารละลายโซเดียมไฮโปรคลอไรท์ความเข้มข้น 200 พีพีเอ็ม และน ามาแบ่งเป็น 4 ทรีตเมนต์ ได้แก่ ผล กล้วยที่ไม่จุ่มสารละลาย MT (ชุดควบคุม) กล้วยที่จุ่มสาร MT ความเข้มข้น 0.1 0.5 และ 1.0 มิลลิโมลาร์ เป็นเวลา 2 ชั่วโมง หลังจากผึ่งให้แห้งบรรจุในตะกร้าน าไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 วัน พบว่าการสูญเสียน้ าหนักสดของแต่ ละทรีตเมนต์ไม่แตกต่างกัน โดยมีค่าร้อยละการสูญเสียน้ าหนัก 11.06-11.74 ในวันที่ 5 ของการเก็บรักษา และพบว่าการจุ่มสาร MT 0.5 มิลลิโมลาร์ ชะลอการเปลี่ยนสีเปลือกซึ่งแสดงด้วยค่า L* และ b* และมีอัตราการหายใจ การผลิตเอทิลีน ค่าความแน่นเนื้อ และปริมาณน้ าตาลต่ ากว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยส าคัญ (p≤0.05) นอกจากนั้นการจุ่ม MT 0.5 มิลลิโมลาร์ สามารถชะลอการลดลง ของปริมาณสารประกอบฟีนอลิก และฤทธิ์การต้านอนุมลอิสระ เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม โดยในวันที่ 3 ของการเก็บรักษา พบว่า ผลกล้วยชุดควบคุมมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิก และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ (DPPH assay) เท่ากับ 1.28 ug GA/g FW และ 28.48% scavenging activity ในขณะที่ชุด MT 0.5 มิลลิโมลาร์ มีค่าเท่ากับ 1.72 ug GA/g FW และ 38.17% scavenging activity ตามล าดับ ดังนั้นการจุ่มสารละลาย MT 0.5 มิลลิโมลาร์ สามารถชะลอการสุกในผลกล้วยหอมทองเมื่อเปรียบเทียบกับ ทรีตเมนต์อื่น
คำสำคัญ
Hom Thong' banana, melatonin, Ripening