ผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อเสริมการสอนผสานสื่อโมชันกราฟิก เรื่อง การถ่ายภาพด้วยเทคนิค Light Painting
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: วาสิตา ศรีชนะ และ อลิสา ทรงศรีวิทยา
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
หน้าแรก: 723
หน้าสุดท้าย: 733
จำนวนหน้า: 11
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1)เพื่อสร้างสื่อโมชันกราฟิกที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง การถ่ายภาพ
ด้วยเทคนิค Light Painting 2) เพื่อประเมินคุณภาพของสื่อโมชันกราฟิกเรื่อง การถ่ายภาพด้วยเทคนิค
Light Painting 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของสื่อโมชันกราฟิกเรื่อง การถ่ายภาพด้วยเทคนิค
Light Painting 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของกลุ่มตัวอย่างก่อนรับชมสื่อและหลังรับชมสื่อ
ด้วยสื่อโมชันกราฟิกเรื่อง การถ่ายภาพด้วยเทคนิค Light Painting กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำนวน 66 คนมาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ใน
การวิจัย ได้แก่ 1) สื่อโมชันกราฟิกเรื่อง การถ่ายภาพด้วยเทคนิค Light Painting 2) แบบประเมินคุณภาพของ
สื่อโมชันกราฟิกเรื่อง การถ่ายภาพด้วยเทคนิค Light Painting 3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสื่อโมชัน
กราฟิกเรื่องการถ่ายภาพด้วยเทคนิค Light Painting 4) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยสื่อโมชัน
กราฟิกเรื่องการถ่ายภาพด้วยเทคนิค Light Painting ค่าสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และค่าสถิติที
ผลการวิจัยพบว่า 1) จากการพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเรื่อง การถ่ายภาพด้วยเทคนิค Light Painting ได้
สื่อโมชันกราฟิกมีเนื้อหาที่น่าสนใจ ชวนให้ติดตาม และช่วยให้กลุ่มตัวอย่างสามารถเข้าใจเนื้อได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
2) สื่อโมชันกราฟิกเรื่อง การถ่ายภาพด้วยเทคนิค Light Painting ที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ มีคุณภาพอยู่ใน
ระดับดีมาก (x = 4.71, S.D. = 0.46) 3) ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อโมชันกราฟิกเรื่อง
การถ่ายภาพด้วยเทคนิค Light Painting อยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.52, S.D. = 0.62) 4) เมื่อเปรียบเทียบ
คะแนนทดสอบก่อนและหลังรับชมสื่อโมชันกราฟิกเรื่อง การถ่ายภาพด้วยเทคนิค Light Painting พบว่ามี
คะแนนเฉลี่ยก่อนรับชมสื่อเท่ากับ 4.11 คะแนน และคะแนนเฉลี่ยหลังรับชมสื่อเท่ากับ 8.30 คะแนน ซึ่งสูงกว่า
ก่อนรับชมสื่ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง