การพัฒนาทักษะการเขียนแบบ ด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะเป็นฐาน รายวิชาเขียนแบบเครื่องมือกล 2 ของนักเรียนชั้นปี ที่ 2 แผนกวิชาช่างกลโรงงาน วิทยาลัยเทคนิควาปีปทุม

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งPonnapa Budsadee, Supreeya Siripattanakunkajorn, and Santirat Nansaarng

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

ชื่อชุดการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 21 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

หน้าแรก1126

หน้าสุดท้าย1141

จำนวนหน้า16

URLhttps://esd.kps.ku.ac.th/kuk-conference/index.php?fbclid=IwY2xjawIoDvxleHRuA2FlbQIxMAABHS1w51BK64FQ6e4Gb9nveblfoSszjN9R_h-bf97fPdw9fUSuF2f_yGq-7Q_aem_jeGPH_BbO1wb2E4E5BVA8g

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสอน การพัฒนาทักษะการเขียนแบบ ด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะเป็นฐาน รายวิชาเขียนแบบเครื่องมือกล 2 2) เพื่อศึกษาผลสัมทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนผ่านชุดการสอน การพัฒนาทักษะการเขียนแบบ ด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะเป็นฐาน รายวิชาเขียนแบบเครื่องมือกล 2 ของนักเรียนชั้นปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนผ่านชุดการสอน การพัฒนาทักษะการเขียนแบบ ด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะเป็นฐาน รายวิชาเขียนแบบเครื่องมือกล 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ วิจัยคือนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาช่างกลโรงงาน วิทยาลัยเทคนิควาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ปีการศึกษา 1/2567 จำนวน 15 คน ซึ่งได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยคู่มือนักเรียน คู่มือครู และแบบประเมินความพึงพอใจ การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหาวิชาเขียนแบบเครื่องมือกล 2 จำนวน 4 ท่านและผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อสำหรับจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 3 ท่าน ผลการประเมินคุณภาพเครื่องมือสรุปได้ดังนี้

1) ด้านความสอดคล้องของแบบประเมินกิจกรรมรายบุคคล มีค่าเฉลี่ย IOC เท่ากับ 0.97 2) ด้านความสอดคล้องเหมาะสมของชุดการสอน มีค่าเฉลี่ย IOC เท่ากับ 0.91 3) ด้านความสอดคล้องของแบบประเมินความพึงพอใจ มีค่าเฉลี่ย IOC เท่ากับ 1.00 และ 4) ด้านคุณภาพของชุดการสอนสำหรับการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65การทดลองใช้เครื่องมือวิจัย (try out) ดำเนินการกับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 แผนกช่างกลโรงงาน วิทยาลัยเทคนิควาปีปทุม ที่เคยเรียนวิชาเขียนแบบเครื่องมือกล 2 มาแล้ว จำนวน 17 คน โดยนำผลการทดลองใช้แบบประเมินการทำกิจกรรมส่วนบุคคล (แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน) มาวิเคราะห์หาคุณภาพโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช (Cronbach) พบว่ามีค่าเท่ากับ 0.95 จากนั้นนำชุดการสอนที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว ไปทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการสอน ผลการวิจัยพบว่า ชุดการสอนด้านการเขียนแบบด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะเป็นฐาน ในรายวิชาเขียนแบบเครื่องมือกล 2 มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เฉลี่ย 86.38/84.20 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 83.96 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดการสอนวิชาเขียนแบบเครื่องมือกล 2 ในระดับมากที่สุด


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-25-02 ถึง 12:00