การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อสนับสนุนการจัดการห้องเรียนกลับด้านและโครงงานเป็นฐาน
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: สุมิตรา โตเรืองศรี, ภาคภูมิ จันทร์ศรี, ภาสพิชญ์ ชูใจ มิเชล
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
หน้าแรก: 728
หน้าสุดท้าย: 740
จำนวนหน้า: 13
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการนำเทคโนโลยีความจริงเสริมหรือ AR มาทำการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เรื่องการออกแบบและการเขียน โปรแกรมเบื้องต้น แล้วนำมาใช้ร่วมกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบกลับด้านโดยมีโครงงานเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างจะทำการ คัดเลือกแบบเจาะจงจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 140 คน แบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่มจำนวนเท่ากัน กลุ่มแรกจะเป็นการเรียนแบบปกติในขณะที่กลุ่มที่สองจะเรียนด้วยสื่อ AR และรูปแบบการเรียนแบบห้องเรียน กลับด้านร่วมกับโครงงานเป็นฐาน ทั้งสองกลุ่มจะมีการใช้สื่อในการเรียนที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มที่หนึ่งจะใช้สื่อพาวเวอร์พอยท์อย่าง เดียว ในขณะที่กลุ่มที่สองจะใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริมและหนังสือประกอบการเขียนโปรแกรมอย่างง่ายดว้ ย Scratch ซึ่งหนังสือนั้นจะต้องใช้ร่วมกับสื่อ AR หลังจากเรียนด้วยสื่อการเรียนตามกลุ่มของตนเองแล้วทั้งสองกลุ่มจะมีการลงปฏิบัติ เพื่อเขียนโปรแกรม จากนั้นจะทำแบบทดสอบเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนซึ่งจะ สอบถามเฉพาะกลุ่มที่สอง ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของสื่อ AR โดยรูปแบบการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านและโครงงาน เป็นฐาน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.81/80.07 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดคือ 80/80 ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมี ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 16.01 และความพึงพอใจโดยรวมในแต่ละด้านคือ ด้านการจัดการเรียนรู้ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.69 รองลงมาคือด้านการใช้ งานสื่อการเรียนรู้ 4.64 และสุดท้ายคือด้านความรู้ 4.58 โดยทั้งสามด้านอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง