การส่งเสริมความตระหนักรู้คุณค่าทางดนตรีในมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งSutthiphong Ruangchante

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

ชื่อชุดรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ครั้งที่ 8 Thailand Soft Power BPI Conference 2024 Multi Disciplines of Arts in Aspect of Soft Power

หน้าแรก406

หน้าสุดท้าย418

จำนวนหน้า13

URLhttps://drive.google.com/drive/folders/13rDq0ijh1k-4nrnZUd9gJoyW7d-5Wqih

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

ความตระหนักรู้คุณค่าทางดนตรี คือ การรู้สึก การคิด การวิเคราะห์ และการตีความคุณค่าทางดนตรีอย่างมีสติแบบองค์รวมจนนำไปสู่ความซาบซึ้งในดนตรี บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้คุณค่าทางดนตรีในมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรณีศึกษา กิจกรรม “สนทนาภาษาดนตรีคลาสสิก” คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 52 คน พบ 3 ประเด็น คือ (1) ความรู้ความเข้าใจ (2) ทักษะและประสบการณ์ และ (3) ความซาบซึ้งในดนตรีคลาสสิก เสียงสะท้อนจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความสอดคล้องกับ 5 เหตุผลที่ทุกคนควรมีดนตรีในชีวิต คือ (1) กิจกรรมสามารถนำผู้คนมารวมตัวกันได้ (2) กิจกรรมทำให้สุขภาพจิตและทัศนคติที่มีต่อดนตรีคลาสสิกของผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ ดีขึ้น (3) กิจกรรมสามารถพัฒนาสมรรถนะของวิทยากร นักเปียโน และทีมงานได้ (4) กิจกรรมสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเปียโน วิทยากร และผู้ฟังได้ และ (5) กิจกรรมมีความสนุกสนานและผ่อนคลาย การจัดกิจกรรมที่มีลักษณะเดียวกันกับกิจกรรมสนทนาภาษาดนตรีคลาสสิก เป็นการมุ่งเน้นการรับรู้คุณค่าทางดนตรีในมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ไม่เน้นด้านดนตรี จึงเป็นเรื่องควรกระทำอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะเติบโตเป็นผู้ฟังดนตรีแบบตระหนักรู้ในคุณค่าทั้งดนตรีไทยและดนตรีตะวันตกต่อไปในอนาคต

คำสำคัญ : ความตระหนักรู้ คุณค่าทางดนตรี กิจกรรมดนตรี มหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี



คำสำคัญ

Awareness


อัพเดทล่าสุด 2025-29-04 ถึง 12:00