การลดปัญหาคอมปาวด์ติดลูกกลิ้งในกระบวนการผสมยาง

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งณัฐณิชา ศรีนวล, พิเนษฐ์ ศรีโยธา, ชนากานต์ แคล้วอ้อม, วิบุญ แซ่ตั้ง

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2025

หน้าแรก114

หน้าสุดท้าย119

จำนวนหน้า6


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อลดปัญหาคอมปาวด์ติดลูกกลิ้งในกระบวนการผสมยางซึ่งมีลักษณะที่จับตัวเป็นก้อนแข็งและไม่สามารถไหลผ่านลูกกลิ้งรีดยางในกระบวนการผสมได้ ทำให้กระบวนการผสมยางต้องหยุดชะงักเกิดเป็นเวลาสูญเสียซึ่งส่งผลให้ยอดการผลิตที่ได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด งานวิจัยได้ดำเนินการทดลองเพื่อหาสภาวะในการผสมยางที่ก่อให้เกิดปัญหาคอมปาวด์ติดลูกกลิ้งต่ำที่สุด โดยพิจารณา 2 ปัจจัยที่สำคัญในกระบวนการผสม คือ ระยะเวลาในการผสมมาสเตอร์แบชต์ ที่ 70, 75, 80 วินาที และอุณหภูมิการผสมมาสเตอร์แบชต์ ที่ 125 °C , 127 °C , 129 °C  ผลการทดลองที่ได้พบว่าค่าความหนืดมูนนี่ของ Non-Productive Compound ที่ต่ำกว่า 64 MU ไม่ก่อให้เกิดปัญหาคอมปาวด์ติดลูกกลิ้ง และไม่เกิดเวลาสูญเสียขึ้นในกระบวนการผสมเลย โดยการผสมที่อุณหภูมิ 127 °C และใช้ระยะเวลาในการผสมที่ 75 วินาที สามารถให้ค่าความหนืดของยางโดยเฉลี่ยต่ำที่สุดที่ 62.2 MU ซึ่งสะท้อนถึงความเข้ากันได้ดีของส่วนผสมและเนื้อยางยังไม่เกิดการเชื่อมโยงสายโซ่ของยางที่มากเกินไป เมื่อนำสภาวะการผสมใหม่ไปใช้ พบว่าเวลาสูญเสียที่เกิดจากปัญหาคอมปาวด์ติดลูกกลิ้งลดลงโดยเฉลี่ย 100 นาทีต่อเดือน ส่งผลให้สามารถเพิ่มยอดการผลิตได้มากขึ้น 66 แบชต์ต่อเดือน


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-02-05 ถึง 00:00