สถานะความรู้ ระบบ กลไก โครงสร้าง นโยบายที่ส่งเสริมมหาวิทยาลัยยั่งยืน และตัวชี้วัดมหาวิทยาลัยยั่งยืน
รายงานการวิจัย
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: ภาสนันทน์ อัศวรักษ์, เขมฤทัย ถามะพัฒน์, สุภชัย วงศ์บุณย์ยง, กรรณิการ์ แสงทอง, สาคร อินหวังสุข
ผู้เผยแพร่: งบประมาณสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund; FF) โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ภายใต้แผนงาน แผนการวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและอย่างครอบคลุมทั่วถึง
สถานที่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2025
จำนวนหน้า: 78
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “สถานะความรู้ ระบบ กลไก โครงสร้าง นโยบายที่ส่งเสริมมหาวิทยาลัยยั่งยืนและตัวชี้วัดมหาวิทยาลัยยั่งยืน” มุ่งเน้นการศึกษาแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยผู้ประกอบการยั่งยืน (Sustainable Entrepreneurial University - SEU) โดยมหาวิทยาลัยที่ยึดแนวทาง SEU ต้องผสมผสานความเป็นผู้ประกอบการกับการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้เป็น SEU จำเป็นต้องมี กลไกที่ชัดเจน ซึ่งประกอบไปด้วยการสร้างตัวชี้วัดที่สามารถประเมินผลในด้านต่างๆ อาทิ การสร้างผลกระทบทางสังคมจากงานวิจัย การพัฒนาทักษะความเป็นผู้ประกอบการให้กับนักศึกษา การจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพภายในมหาวิทยาลัย และการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรในท้องถิ่นและระดับนานาชาติ นอกจากนี้การพัฒนาตัวชี้วัดที่เหมาะสมสามารถช่วยให้มหาวิทยาลัยประเมินความสำเร็จในหลายมิติ เช่น การวิจัยที่สร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม ตัวชี้วัดเหล่านี้ยังช่วยให้เห็นถึงผลกระทบที่แท้จริงของโครงการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งทำให้มหาวิทยาลัยสามารถปรับปรุงและพัฒนาแนวทางการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นได้แก่ การวัดผลสำเร็จของงานวิจัยที่มีผลกระทบต่อสังคม การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ที่สำคัญคือการพัฒนานโยบายและกลยุทธ์ที่ส่งเสริมความยั่งยืนในมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ควรมีการสนับสนุนการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับองค์กรทั้งในและต่างประเทศ การสนับสนุนการพัฒนาผู้ประกอบการในสาขาที่มีความสำคัญต่อความยั่งยืนจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและเศรษฐกิจได้ในระยะยาว ทั้งนี้ผลการศึกษายังเสนอให้มีการพัฒนาระบบการประเมินผลที่มีความชัดเจนและสอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถใช้ตัวชี้วัดเหล่านี้ในการติดตามความก้าวหน้าและปรับปรุงการดำเนินงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง