การจัดการเรียนรู้แบบไฮบริด โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ เรื่องการสร้างโมเดล 3 มิติ รูปแบบ Voxel art สาหรับนักศึกษาปริญญาตรี

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งอธิษฐาน พิมลบรรยงค์, สรัญญา เชื้อทอง

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2025

หน้าแรก257

หน้าสุดท้าย279

จำนวนหน้า23

URLhttps://bandhit.srru.ac.th/gconf2015/


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสารวจความต้องการ และประเมินประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ เรื่องการสร้างโมเดล 3 มิติ รูปแบบ Voxel Art สาหรับนักศึกษาปริญญาตรี เพื่อประเมินคุณภาพ ผลงาน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) แบบสารวจความต้องการ 2) กิจกรรมการเรียนรู้ ของการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ เรื่องการสร้างโมเดล 3 มิติ รูปแบบ Voxel Art สาหรับนักศึกษาปริญญาตรี 3) แบบประเมินคุณภาพ 4) แบบประเมินผลงานของนักศึกษา 5) แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 6) แบบประเมินความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สาขาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยการเรียนรู้ในรูปแบบ “Hybrid Learning” ได้มาโดยด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จานวน 30 คน ผลการวิจัย พบว่า ผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา อยู่ในระดับดีมาก (x̅ = 4.58, S.D. = 0.50) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อ อยู่ในระดับดีมาก (x̅ = 4.53, S.D. = 0.46) ผลการประเมินผลงานของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (x̅ = 17.08, S.D. = 2.61) ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.83, S.D. = 0.42) สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ เรื่องการสร้างโมเดล 3 มิติ รูปแบบ Voxel Art สาหรับนักศึกษาปริญญาตรี สามารถนาไปใช้งานได้จริง


คำสำคัญ

design thinking


อัพเดทล่าสุด 2025-13-06 ถึง 00:00