A Study on Factors Affecting Turnover Intention of Generation Y Employees

Journal article


Authors/Editors


Strategic Research Themes

No matching items found.


Publication Details

Author listKhwanthong, S.;Kritjaroen, T.

Publication year2015

Journalวารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (0859-2055)

Volume number18

Start page263

End page282

ISSN0859-2055


Abstract

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยผลักดัน และปัจจัยดึงดูด ที่มีผลต่อความตั้งใจออกจากงานของพนักงาน Generation Yการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ใช้การเก็บข้อมูลด้วยวิธีสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งคือพนักงาน Generation Y เป็นกลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2520 – 2542 ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 427 ตัวอย่างมาทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวน (One WayAnova) ในการทดสอบปัจจัยส่วนบุคคล และการใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ(Multiple Regression Analysis) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูดที่ส่งผลต่อความตั้งใจออกจากงาน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ต่างกันมีผลต่อความตั้งใจออกจากงานของพนักงาน Generation Y แตกต่างกันสำหรับปัจจัยส่วนบุคคลด้านอื่นๆ เช่น เพศ ระดับการศึกษา อายุงานในองค์กร และระดับตำแหน่งงานที่ต่างกันมีผลต่อความตั้งใจออกจากงานของพนักงาน Generation Y ไม่แตกต่างกันในส่วนของปัจจัยผลักดัน และปัจจัยดึงดูด พบว่ามีอิทธิพลต่อความตั้งใจออกจากงานของพนักงาน Generation Y อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ0.241 และ 0.302 ตามลำดับ สรุปได้ว่า ปัจจัยดึงดูดมีอิทธิพลต่อความตั้งใจออกจากงานของพนักงาน Generation Y มากกว่าปัจจัยผลักดัน


Keywords

Turnover intention, Generation Y employee


Last updated on 2022-06-01 at 15:33